Showing 67 results

Archival description
Series
Print preview View:

ภาพถ่ายพิธีรับมอบอาคารและเปิดตัวสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (19 มกราคม 2548)

ความเป็นมาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ : มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ : พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลบังคับใช้

๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ : คณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ มีมติให้ประกาศจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ : ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งแรก

๑๙ มกราคม ๒๕๔๘ : งานพิธีเปิดแนวคิดและสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรก รับมอบพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย จากกระทรวงพาณิชย์ ให้อยู่ในความดูแลของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

ภาพถ่ายพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬรักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมพิธีฉลองอาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แห่งที่ 1 โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน คณะกรรมการบริหารสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ร่วมงานในวันที่ 20 กันยายน 2550

  • กิจกรรมช่วงเช้า การบวงสรวงและนำชมภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

ภาพถ่ายงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ (3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549)

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ วันที่ 3 – 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ ห้องสัมมนาโรงแรมรอยัลซิตี้ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เวลา 09.00 น. - 17.30 น.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ( สพร. ) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ การสร้างสรรค์นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ ” โดยมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศร่วมบรรยายในหัวข้อ “ Museum in the Modern World ” โดย ELAINE GURIAN ซึ่งเนื้อหาโดยรวมจะกล่าวถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปของพิพิธภัณฑ์ในยุคโลกไร้พรมแดน , “ Validating the Narrative Based Museum ” โดย KENNETH GORBEY ซึ่งจะมีกล่าวถึงแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการสะสมวัตถุเพื่อจัดแสดง มาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องราวจากวัตถุเหล่านั้น และ “ Interpretive Design in a Museum Context ” โดย DESMOND FREEMAN จะกล่าวถึงการพัฒนาเนื้อหาและเค้าโครงเรื่องของนิทรรศการให้กลายมาเป็นนิทรรศการที่เป็นรูปธรรม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร? รวมถึงเคล็ดลับและขั้นตอนในการสร้างสรรค์และเลือกใช้สื่ออันหลากหลายมาผนวกกับข้อมูลเชิงวิชาการ เพื่อทำการสื่อสารเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปแบบของการจัดชุดนิทรรศการ ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ รูปแบบและเนื้อหาจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้กับกลุ่มนักออกแบบนิทรรศการ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้กำลังประสบอยู่ เพื่อหาแนวทางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการนำเสนอประเด็นในการพัฒนาและสร้างสรรค์นิทรรศการ ( Exhibition Development ) , การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ( Museum Management ) , เทคนิคในการออกแบบชุดนิทรรศการ ได้แก่ งานด้าน แสง สี เสียง ( Lighting , Media , Audio Visual ) , การจัดทำแผ่นป้ายคำบรรยาย และการจัดเส้นทางเดินชมชุดนิทรรศการ ( Captions and Exhibition Traffic ) ทั้งนี้กลุ่มนักออกแบบนิทรรศการและกลุ่มเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ จะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างถูกวิธีจากผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดนิทรรศการ รวมถึงการพัฒนาโครงเรื่องและเนื้อหาการศึกษางานพิพิธภัณฑ์ ( Education ) และการนำเทคนิคใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบนิทรรศการได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและน่าสนใจในต่างประเทศ ผ่านประสบการณ์จริงในด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และการพัฒนาออกแบบ จัดสร้างนิทรรศการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์มากที่สุด

ภาพถ่ายการเข้าเยี่ยมชมของ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรส ผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (16 มิถุนายน 2561)

เช้าวันที่ 16 มิถุนายน 2561 รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะคู่สมรสผู้นํากลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) จาก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติเยี่ยมชม มิวเซียมสยาม โดยมีคณะผู้บริหารของมิวเซียมสยามร่วมให้การต้อนรับ

ภาพถ่าย งานทดสอบระบบก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 โดยนักเรียนโรงเรียนราชินี (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)

เชิญนักเรียนโรงเรียนราชินีทดสอบระบบ ก่อนเปิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile)

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ชุดแรก ที่จัดสร้างขึ้นในปี 2551 พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มอบหมายให้ฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีนายรณฤทธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายมิวเซียมสยามเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ

โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่ ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

พิพิธภัณฑ์ติดล้อ muse mobile 1 ติดตั้งและจัดแสดงที่จังหวัดลำปางเป็นแห่งแรก

นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด ผู้แทนเมืองไทย

นิทรรศการสัญจร ชุด ผู้แทนฯ เมืองไทย
แนวคิดหลัก : เข้าใจพัฒนาการการเมืองไทย โดยผ่านบทบาทและภารกิจของผู้แทนฯ
นิยาม : ผู้แทนฯ ก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสภาชิกวุฒิสภา

  1. นิทรรศการ
    พื้นที่การจัดแสดง : 160 ตารางเมตร บริเวณอาคารรัฐสภา
    นิทรรศการสื่อผสม พร้อมเคลื่อนย้ายและติดตั้ง

เนื้อหา

ส่วนที่ 1 : ผู้แทนในสังคม การเมืองไทย
แสดงพัฒนาการของการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม

การนำเสนอ : Timeline ขนาดใหญ่ บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของการเมืองเลือกตั้ง ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างของนิทรรศการการสะท้อนให้เห็นบรรยากาศในแต่ละยุคไปพร้อมกันด้วย โดยแต่ละช่วงจะสอดแทรกวัตถุสิ่งของ ไปพร้อมกัน

ข้อมูลหลัก : การเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ การรัฐประหาร พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี การวางเงินสมัครับเลือกตั้ง เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภาคประชาชน ฯลฯ
บริบทที่เกี่ยวข้อง : จำนวนประชากร ตัวเลขงบประมาณ ฯลฯ
เหตุการณ์อื่น ๆ : ประกวดนางสาวไทย เลิกกินหมาก ประกาศวันชาติ รัฐนิยมฉบับต่าง ๆ ญี่ปุ่นบุก น้ำท่วมกรุงเทพปี 85 ทีวีออกอากาศครั้งแรก ไฮด์ปาร์คสนามหลวง ประท้วงเลือกตั้งสกปรก ยกเลิกการจำหน่ายฝิ่น เริ่มต้นยุคพัฒนา ถนนมิตรภาพ อาภัสราได้นางงามจักรวาล ไทยจัดเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรก มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต คดีนวลฉวี พเยาว์ พูลธรัตน์ ได้เหรียญทองแดงโอลิมปิค ยิงดาวเทียมไทยคม มือถือเครื่องแรก ฯลฯ

ส่วนที่ 2 : กว่าจะเป็นสภาผู้แทน
แสดงให้เห็นว่ากระแสเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภาและมีผู้แทนมีมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เช่น คำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ของข้าราชการและเจ้านาย , บทความ “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ของเทียนวรรณ ปัญญาชนสามัญชน ที่เรียกร้องให้ตั้ง “ปาลิเมนต์ ให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่รัฐบาลได้” , การเตรียมการปฏิบัติการของคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งแม้ว่าจะมิสำเร็จแต่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 20 ปีต่อมา โดยสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริ์เป็นประมุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การนำเสนอ : ภาพแผนที่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2475 ขนาดใหญ่ แทรกด้วยภาพผู้แทนไทยสมัยแรก และปาฐกถาผู้แทนสมัยแรกแต่ละจังหวัด

ส่วนที่ 3 : เกร็ดการเมือง
นำเสนอเนื้อหาและบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรโดยผ่านการหยิบยกเกร็ดการเมืองมานำเสนอ พร้อมอธิบายบทบาทและความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบ

3.1  ที่สุดของสภาผู้แทนแต่ละชุด
สภาชุดที่อายุยืนที่สุด
สภาชุดที่อายุสั้นที่สุด
สภาชุดที่ใช้นายกเปลืองที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายมากที่สุด
สภาชุดที่ผ่านกฎหมายน้อยที่สุด
ฯลฯ

3.2 ที่สุดแห่งกระทู้/ญัติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
กระทู้ที่นำไปสู่การล้มรัฐบาล
การอภิปรายที่นานที่สุด
ญัตติที่ไม่เคยได้อภิปราย
ญัตติที่ไม่เคยลงคะแนน
ฯลฯ

3.3 หนึ่งเดียวคนนี้
คัดเลือกผู้แทนที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส.ส. เสียงดีที่สุด สุเทพ วงศ์คำแหง ส.ส. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประไทย ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

3.4 เกมส์จับคู่ผู้แทน
สากกระเบือ , ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง, ปลาไหล, ควาย ฯลฯ กับ เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ ไพฑูรย์ วงษ์พานิช

3.5 แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย
เกมให้ทายบวกรางวัล สลับกับเทปแฟนพันธุ์แท้การเมืองไทย

การนำเสนอ : จัดจำลองในรูปแบบงานวัด

ส่วนที่ 4 : ผู้แทนในสื่อ
นำเสนอสื่อต่าง ๆ ทั้งที่ผู้แทนผลิตเองและคนภายนอกผลิตขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการความคิด ของแต่ละยุคสมัยที่มีผู้แทนในแต่ละยุค

4.1 มองการเมืองไทยผ่านโปสเตอร์หาเสียง /เชิญชวนเลือกตั้ง
นำเสนอโปสเตอร์เตอร์หาเสียงยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

การนำเสนอ : จัดแสดงโดยการทำเป็นแกลลอรีภาพโปสเตอร์

4.2 มองผู้แทนผ่านหนังไทย
จัดฉายภาพยนตร์ไทยที่มีฉากสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. เช่น ผู้แทนนอกสภา เวลาในขวดแก้ว ฯลฯ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ ส.ส. เป็นอย่างไรเมื่อสื่อผ่านภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังจะมีการฉายเทปการการเสียงในยุคก่อนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กฉายภาพยนตร์สลับสารคดี

4.3 มองผู้แทนผ่านเสียงเพลง
คัดเลือกเพลงที่พูดถึงผู้แทนในแต่ละยุค รวมทั้งเทปหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนด้วย

การนำเสนอ : จัดทำเป็นตู้เพลงให้ผู้ชมเลือกฟัง

ส่วนที่ 5 : ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
รวบรวม/แยกประเภท หนังสือ เอกสาร ที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาการเมืองไทย ภายใต้หัวข้อ สนใจการเอมืองไทยอ่านเล่มไหนดี

การนำเสนอ : จัดทำเป็นซอฟแวร์แอคทีฟค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์

ส่วนที่ 6 : ประชาชนกับผู้แทน
นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังสมารถทำอะไรกับผู้แทนได้อีก เช่น เข้าชื่อเสนอกฎหมาย เข้าชื่อถอดถอน
การนำเสนอ : บอร์ดนิทรรศการ

  1. หนังสือประกอบงาน
    จัดทำหนังสือประกอบงานโดยนำเนื้อหาประกอบด้วย

    • ข้อมูลพื้นฐานการเมืองไทย
    • บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรกับสังคมการเมืองไทย (เนื้อหารส่วนหนึ่งจากนิทรรศการ)
    • แหล่งอ้างอิงเอกสารสำคัญ
  2. วีซีดี นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย”
    จัดทำ นิทรรศการ “ผู้แทนฯ เมืองไทย” ลงในรูปแบบ วีซีดี อินเตอร์แอคทีฟ ประกอบกับหนังสือ

นิทรรศการถาวร ชุด เรียงความประเทศไทย

กรอบแนวคิดของการจัดนิทรรศการภายใน นิทรรศการผ่านการเล่าเรื่อง (Story telling) นับแต่อดีตถึง
ปัจจุบันของผู้คนและดินแดนในอุษาคเนย์และในประเทศไทย
เพื่อ

  1. สร้างสำนึกเข้าใจผู้คน บ้านเมือง และท้องถิ่นของตน และ
    เชื่อมโยงความสัมพันธ์ลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน
    ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และสันติภาพในภูมิภาค.
    จากสุวรรณภูมิ ถึงสยามประเทศ สู่ประเทศไทย
    จากสุวรรณภูมิ
    1. แสดงความหลากหลายทั้งสภาพแวดล้อมแบบชีวภาพและความหลากหลายทางชาติพันธ์
    2. สร้างสำนึกเข้าใจผู้คน บ้านเมือง และท้องถิ่นของตน และ
      เชื่อมโยงความสัมพันธ์ลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน
      ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ และสันติภาพในภูมิภาค
    3. แสดงศักยภาพและความสามารถของผู้คนที่อยู่
      ในประเทศไทยที่ปรับตัวได้อย่างสมดุลและชาญฉลาด
      4.เกิดจิตสำนึกแห่งความภูมิใจ และความเป็นคนไทย (Sense of Dignity) ที่เข้าใจ เห็นคุณค่า รู้จักตนเอง และภาคภูมิใจ
      นิทรรศการมีประเด็นในการจัดแสดงเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
      ๑) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สุวรรณภูมิ อันเป็นภูมิภาคแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยยุคเหล็ก คือ ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีลงมา ซึ่งนับอยู่ในต้นพุทธกาลที่คนอินเดียเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า สุวรรณภูมิ คนตะวันตกเรียกว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออกและอินโดจีน เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเอเชียอาคเนย์ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
      ๒) การเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๔ พระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย ผู้ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปภัมภกของพระพุทธศาสนา ได้ส่ง พระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูตมาเผยแพร่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ เพราะเป็นดินแดนแห่งความมั่งคั่ง ผู้คนมีความเจริญเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีการค้าขายติดต่อกับภายนอกทางทะเลและทางบกแล้ว การเข้ามาของพระสมณทูตคือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของดินแดนแห่งนี้มาก่อนการรับอารยธรรมอินเดีย
      ๓) ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยทวารวดี – ศรีวิชัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีพัฒนาการของบ้านเมืองในสุวรรณภูมิขึ้นเป็นรัฐใหญ่ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้ทะเลและดินแดนภายใน มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายจากภายนอกที่มาทางทะเลและคนจากถิ่นต่างๆ ภายในอย่างคึกคัก

หัวข้อนิทรรศการ
๑. รู้จักสุวรรณภูมิ แสดงด้วยหลักฐานและเรื่องราวสำคัญดังต่อไปนี้

 ภาพแผนที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด แสดงให้เห็นลักษณะของภูมิประเทศจากที่สูงในเขตภูเขามายังที่ราบต่ำและชายทะเลที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป อันสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและชาติพันธุ์
 กำหนดตำแหน่งของชุมชนหมู่บ้านในยุคสำริดและชุมชนบ้านเมืองในยุคเหล็กที่อยู่ในบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ คือ มาเลเซีย ไทย พม่า เขมร ลาว และเวียดนาม [ตำแหน่งดูจากหนังสือไฮแอม] เน้นตำแหน่งของชุมชนโบราณในยุคสำริดและเหล็ก อันได้แก่ ท่าแค โคกพลับ ดอนตาเพชร จันเสน บ้านปราสาท บ้านเชียง ถ้ำผีแมน
ท่าแค แสดงตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อม ให้เห็นกลุ่มเขาสามยอดและที่ลาดลงสู่แม่น้ำลพบุรี แสดงภาพเนินดินที่ถูกทำลายแต่เผยให้เห็นชั้นดินที่อยู่อาศัย แสดงการขุดค้นและหลักฐานที่พบ เช่น ภาชนะดินเผา ตะกรันทองแดงและเหล็ก เครื่องประดับที่ทำด้วยเปลือกหอย หินมีค่า สำริด และศิลปวัตถุที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียและการสืบเนื่องมาจนเกิดเมืองละโว้
จันเสน แสดงตำแหน่งแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้ที่ราบลุ่มต่ำที่บ้านใหม่ชัยมงคล สภาพการถูกขุดคุ้ยทำลายที่เต็มไปด้วยกองกระดูก หลักฐานจากสมัยก่อนเหล็กมาจนถึงสมัยเหล็ก แล้วต่อด้วยการเกิดเมืองจันเสนในสมัยทวารวดี
โคกพลับ แสดงแหล่งฝังศพในชุมชนลุ่มน้ำลำคลองใกล้ทะเลในยุคก่อนเหล็กหรือสำริด การขุดค้นที่พบโครงกระดูก มีเครื่องประดับที่ทำด้วยหินมีค่า เช่น ตุ้มหูที่มีตุ่มแหลมประดับ หวีกระดูกสัตว์ ก่องแขนสำริด แหล่งโบราณคดีแห่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อทางทะเลจากชายทะเลในเขตเวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ในสมัยก่อนเหล็ก เพิ่มเติมด้วยการจำลองตุ้มหูหินมีค่าที่มีปุ่มแหลมและหวีกระดูกสัตว์ที่เป็นแบบของจีนแต่สมัยราชวงศ์โจวขึ้นไป
ดอนตาเพชร แสดงตำแหน่งของชุมชนและแหล่งฝังศพที่อยู่ในบริเวณต้นน้ำจระเข้สามพันที่ต่อเนื่องไปจนบริเวณเมืองอู่ทอง แสดงโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นและการรวบรวมของคนในท้องถิ่น ได้แก่
• เครื่องมือเหล็กรูปแบบต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึง specialization อันสะท้อนให้เห็นระดับความเจริญของชุมชนในลักษณะที่เป็นสังคมเมือง
• เครื่องประดับและวัตถุทางสัญลักษณ์ที่ทำด้วยสำริดหล่อบาง เช่น ภาชนะที่มีภาพควาย ผู้หญิงที่แสดงทรงผม เสื้อผ้า โบราณวัตถุชิ้นนี้นำไปเชื่อมกับชิ้นที่พบที่จอมบึงที่มีภาพรูปร่างผู้หญิงที่มีสรีระแบบหญิงอินเดีย ภาพของสัตว์ เช่น ช้าง ม้า และอื่นๆ ที่เป็นของร่วมสมัย สุ่มไก่ และนกยูง รวมทั้งลวดลายก้านขดที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมดองซอน
• แสดงเครื่องประดับที่ทำด้วยหินมีค่าและแก้วสี เช่น ลูกปัดแต่งสี (เอชบีด แบบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมอินเดีย ตุ้มหูแบบ ลิง-ลิง-โอ ที่มาจากวัฒนธรรมซาหวิ่น (ก่อนจาม) จากเวียดนาม
• ทำหุ่นจำลองของ ลิง-ลิง-โอ ที่ทำด้วยหินเขียวและคาร์นีเลียนให้เป็นสัญลักษณ์ของทางตะวันออกมาพบกับหุ่นจำลองของลูกปัดสิงห์ที่ทำด้วยหินคาร์นีเลียนอันเป็นสัญลักษณ์ของทางตะวันตก เช่น อินเดีย
• ลิง-ลิง-โอ คือ ควายหรือสัตว์มีเขา
สิงห์ คือ สัตว์เนรมิตที่มาจากสิงโตซึ่งกลายเป็นราชสีห์
บ้านปราสาท แสดงตำแหน่งที่ตั้งของทุ่งสำริดอันเป็นที่ราบลุ่มอุดมไปด้วยแหล่งผลิตเกลือและการถลุงเหล็ก แสดงชั้นดินที่อยู่อาศัยลึกลงไปจนถึง ๔-๖ เมตร แสดงโบราณวัตถุ เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีพัฒนาการมาแต่สมัยแรก (ภาชนะปากแตร) มาจนถึงสมัยกลาง คือสมัยพิมายต่อเรื่อยมาจนถึงสมัยเจนละและลพบุรี แสดงภาพรวมของการกระจายตัว ชุมชนบ้านและเมือง ที่ต่อมามีเมืองพิมายเป็นศูนย์กลาง
แสดงโครงกระดูกมนุษย์สมัยเหล็กตอนปลายที่มีเครื่องประดับและเครื่องเซ่นศพอันสะท้อนให้เห็นสถานภาพทางสังคมและระดับความเจริญของบ้านเมืองจากแหล่งโบราณคดีที่ไฮแอมขุด
บ้านเชียง แสดงตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนและสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับป่าละเมาะ ลำน้ำลำห้วย หนองน้ำและที่ราบลุ่ม แสดงให้เห็นโบราณวัตถุหลายยุคหลายสมัยที่นอกจากมีรูปแบบสัมพันธ์กับผู้คนในดินแดนภายนอก เช่น จากชายทะเลและจีนตอนใต้แล้ว ยังเป็นชุมชนที่มีวามโดดเด่นในเรื่องสุนทรีย์ อันสะท้อนให้เห็นจากลวดลายเขียนสีบนภาชนะดินเผาที่ไม่เหมือนในที่อื่นๆ ในประเทศไทย
ถ้ำผีแมน แสดงให้เห็นตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ การกระจายตัวของถ้ำในเขตแม่ฮ่องสอนที่แสดงการเคลื่อนไหวของคนภายนอกในเรื่องการตั้งถิ่นฐานและการแลกเปลี่ยนของป่า เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสังคมของคนบนที่สูงในหุบเขาตั้งแต่เหนือลงมาจนถึงกาญจนบุรี
• แสดงภาพเพิงผาที่ประกอบพิธีกรรม ภาพเขียนสีและโลงไม้ รวมทั้งเครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้
• แสดงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์คือ รูปคนทำตัวเป็นกบ อาจเสริมด้วยภาพจากแหล่งพิธีกรรมภาพเขียนสีหรือสลักหินในที่อื่นๆ เช่น ผาแต้ม ประตูผา และภูผายนต์ เป็นต้น
• สิ่งที่ควรนำมาจัดแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่นก็คือ ภาชนะดินเผาบ้านเชียง บ้านปราสาท แบบปากแตรและพิมายดำ ท่าแค โลงผีแมน
• แสดงภาพผู้คนท้องถิ่นให้แลเห็นหน้าตา ทรงผม และเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะผู้ชายที่นุ่งผ้าเตี่ยว แต่ในงานพิธีกรรมมีผ้าชายไหว ชายแครง ให้แลเห็นการใช้เครื่องประดับหัวด้วย เพราะเป็นการบอกสถานภาพทางสังคม

๒. พุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิ
 ชื่อสุวรรณภูมิมาจากคนตะวันตก โดยเฉพาะคนอินเดียที่เดินทางด้วยเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนที่เห็นว่ามีความมั่งคั่ง อารยธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดียจึงมากับผู้คนที่เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐาน เพราะดินแดนนี้มีผู้คนอยู่น้อยมาแต่ดึกดำบรรพ์
 การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากภายนอกทุกสารทิศมีมาแต่สมัยยุคสำริดเป็นต้นมา คนที่เข้ามาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความเจริญในด้านเทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมอยู่แล้ว
 ครั้นถึงยุคเหล็กก็มีพัฒนาการเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะมีการรวมกลุ่มกัน โดยมีหัวหน้าปกครองที่พร้อมจะพบปะติดต่อกับคนจากภายนอกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือค้าขายในระดับเสมอภาค จึงทำให้การรับวัฒนธรรมจากภายนอกมีลักษณะเป็นการเลือกเฟ้นเพื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง
 ในพุทธศตวรรษที่ ๔ อินเดียมีพระมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาของโลก จึงทรงสั่งสมณทูตไปเผยแพร่ในภูมิภาคต่างๆ ทั้งทางบกและทางทะเล
 หนึ่งในสมณทูตดังกล่าว คือ พะโสณะและพระอุตระ ที่เข้ามาสุวรรณภูมิทางทะเล บริเวณที่เข้ามานั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีและตำแหน่งภูมิศาสตร์น่าจะอยู่บริเวณที่เรียกว่า แหลมทอง อันอยู่ในคาบสมุทรไทยต่อคาบสมุทรมลายู นั่นคือ บริเวณตอนเหนือของคายสมุทรมลายู ตั้งแต่จังหวัดปัตตานีขึ้นมาจนถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย
 เพราะตั้งอยู่ระหว่างการค้าจากตะวันตกมาตะวันออก การค้าสำเภาในสมัยสุวรรณภูมิ นั้น จากตะวันตกไปตะวันออกหาได้เดินทางทะเลด้วยสำเภารวดเดียวไม่ หากเป็นการเป็นการเดินทางจากเมืองท่าในอินเดีย ลังกา หรือที่อื่นจากกรีกและโรมันข้ามอ่าวเบงกอลในทะเลอันดามันมายังเมืองท่าในคาบสมุทรไทยแล้วจึงขนถ่ายสินค้าข้ามเส้นทางข้ามคาบสมุทรมายังเมืองท่าบนฝั่งอ่าวไทยในเขตทะเลจีน เส้นทางข้ามคาบสมุทรมีหลายเส้น
 เส้นเหนือสุดคือ ทวาย ตะนาวศรี มายังประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี
 เส้นต่ำไปจากบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวพังงามายังอ่าวบ้านดอนและนครศรีธรรมราช
 และเส้นต่ำสุดคือจากเปรัคและไทรบุรีในเขตประเทศมาเลเซียมายังอ่าวปัตตานี ทำให้พื้นที่ใกล้ทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกที่อยู่ในจุดเริ่มต้นและปลายทางของเส้นทางข้ามคาบสมุทรเป็นบริเวณที่เกิดชุมชนบ้านเมืองขึ้น แต่โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่จุดสมบูรณ์เป็นที่ตั้งหลักแหล่งของบ้านเมืองมักอยู่ทางฝั่งตะวันออก เพราะนอกจากมีที่ราบชายทะเลและคลื่นลมที่สงบแล้ว ยังขานรับกับการเคลื่อนย้ายของคนจากภาคใต้ของประเทศจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งและแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่สำริดลงมาด้วย การแสดงนิทรรศการในตอนนี้ จะมีดังนี้
• แผนที่ภูมิประเทศของคายสมุทรไทยที่แสดงเส้นทางการค้าและคมนาคมทางทะเล จากเมืองท่าชายทะเลฝั่งตะวันออกของอินเดียและลังกา มายังฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรไทย แสดงตำแหน่งของเมืองท่าและชุมชนโบราณบนเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก รวมทั้งบรรดาตำแหน่งเมืองท่ารอบๆ อ่าวไทยไปจนถึงปากแม่น้ำโขงและชายทะเลของประเทศเวียดนามตอนกลาง
• แสดงภาพของเรือสำเภาและเรือสินค้าของคนพื้นเมืองในยุคพุทธกาลและยุคต้นประวัติศาสตร์ โดยดูตัวอย่างจากภาพสลักที่บูโรพุทธ ภาพในดวงตราดินเผาที่พบที่คลองท่อมและที่นครปฐม ดูลักษณะโครงสร้างจากเรือของคนพื้นเมืองที่มี out trigger ประกบ เรือใบสามเสามี out trigger เป็นต้น
• แสดงภาพภูมิประเทศของเมืองท่าสมัยสุวรรณภูมิ ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลจีน อันได้แก่ สะเทิม คลองท่อม อู่ทอง และออกแอว

  • ตำแหน่งของเมืองสะเทิม เป็นอ่าวอยู่ข้างหน้าเมืองและมีภูเขาอยู่ข้างหลัง โดยที่เมืองตั้งอยู่บนที่ลาดลุ่มลงสู่ชายน้ำ ลักษณะเช่นนี้เป็นเช่นเดียวกันกับเมืองอู่ทองที่มีเทือกเขาท่าเทียมอยู่ข้างหลัง
  • ตำแหน่งของคลองท่อมที่น่าจะเป็นเมืองตักโกลาในอ่าวพังงา โดยใช้แผนที่แสดงทางน้ำจากทะเลเข้ามาในบริเวณแหล่งโบราณคดีที่มีทั้งผังบริเวณและภาพถ่ายประกอบ อาจนำโบราณวัตถุที่พบ เช่น แร่ ชิ้นส่วนของแก้ว ลูกปัดที่ขุดขึ้นหรือทำขึ้นในบริเวณนั้น รวมทั้งศิลปวัตถุที่หาได้ แต่ที่สำคัญก็คือ ภาพของหญิงโรมันที่สลักลงบนหินมีค่า
  • ตำแหน่งของเมืองออกแอวควรแสดงด้วยภาพเขียนแลเห็นภูเขาอยู่เบื้องหลัง ข้างหน้าเป็นที่ลุ่มมีบ้านเรือนตั้งอยู่บนเสาสูง มีศาสนสถาน มีลำคลองขุดที่มีเรือนานาชนิดทั้งมาจากภายนอกและที่มาจากภายใน เมืองออกแอวเป็นเมืองท่าของแคว้นฟูนันที่มีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอังกอร์โบเรย
    • แสดงภาพเขียนสีหรือไม่ก็รูปจำลองเหตุการณ์ เป็นภาพขนาดใหญ่ให้เห็นถึงพระโสณะและพระอุตระ เดินทางจากฝั่งทะเลเมืองทวาย ข้ามเขาตะนาวศรีมายังสวนผึ้ง จอมบึง ราชบุรี แล้วต่อมายังเมืองอู่ทองพำนักอยู่ ณ เขาปุษยคีรี มีเจ้าเมืองบริวารและชาวเมืองมาฟังธรรม

๓. ทวารวดี – ศรีวิชัย
 การรับอารยธรรมอินเดียในด้านศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ และศิลปะวิทยาการต่างๆ ของคนสุวรรณภูมินั้น หาได้เป็นไปในลักษณะที่คนในอินเดียเข้ามามีอำนาจครอบงำให้ยอมเชื่อและยอมรับไม่ หากเป็นการที่ผู้นำของบ้านเมืองแต่ละแห่ง ได้เลือกเฟ้นรูปแบบวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับสังคมท้องถิ่นของคนเข้ามา
 เหตุที่รับวัฒนธรรมอินเดียเพราะ วัฒนธรรมอินดียมีเกียรติภูมิสูงกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงมีศักยภาพในการสื่อสารได้มากกว่า ทำให้สามารถบูรณาการความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของผู้คนในบ้านเมืองได้
 ศาสนา ความเป็นกษัตริย์ และอักษรศาสตร์ จากอินเดีย จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้นำบ้านเมืองแต่ละแห่งรับไปใช้เหมือนกัน ด้วยการเชื้อเชิญพระสงฆ์ พราหมณ์ และปราชญ์ราชบัณฑิตที่เป็นคนอินเดียเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในราชสำนัก
 เรื่องของศาสนาแต่ละบ้านเมืองอาจจะแตกต่างกันออกไป บางเมืองเลือกพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาหลัก โดยมีศาสนาฮินดูและลัทธิศาสนาอื่นรองลงไป แต่บางแห่งก็เลือกศาสนาฮินดูและพุทธมหายานเป็นสำคัญกว่าศาสนาอื่น เป็นต้น
 ในขณะที่ระบบกษัตริย์มีความคล้ายคลึงกันและใช้ภาษาสันสกฤตและบาลีเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและราชการเหมือนกัน เป็นเหตุให้กษัตริย์ในแต่ละบ้านเมืองสื่อสารและสัมพันธ์กันได้ นั่นคือ อารยธรรมอินเดียในรูปของศาสนา ระบบกษัตริย์ การปกครอง และอักษรศาสตร์ สามารถสลายความเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของผู้นำให้หมดไป ทำให้อยู่เหนือระดับความเป็นชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในบ้านเมือง เข้าสู่สถานภาพที่ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ และเข้าสู่ความเป็นบุคคลชั้นเดียวกับบรรดาผู้นำที่เป็นกษัตริย์ในบ้านเมืองอื่น
 ความเป็นประเภทเดียวกันนี้ เป็นสิ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกษัตริย์ต่างเมืองกัน ความสัมพันธ์ทางสังคมที่โดดเด่นก็คือ การแต่งงานระหว่างกัน ที่มีผลนำไปสู่การรวมบ้านเมืองคู่สัมพันธ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้นำไปสู่การสืบราชสมบัติและสร้างเครือข่ายระหว่างเมืองต่างๆ ให้รวมกันเป็นกลุ่มเป็นรัฐขึ้นมา
 ศาสนา ลัทธิการปกครองแบบกษัตริย์ อักษรศาสตร์ และพิธีกรรมในอารยธรรมอินเดียที่ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๔ นั้น ได้เติบโตเป็นรูปธรรมขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ อันเป็นเวลาที่มีการติดต่อกับจีนเพิ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น จีนขยายอำนาจเข้าสู่เวียดนามเหนือ แต่การค้าของจีนที่ผ่านเวียดนามกลางมาจนปากแม่น้ำโขงและอ่าวไทย รวมทั้งกับบรรดาบ้านเมืองในเกาะสุมาตราและชวา ได้ทำให้เกิดการรวมตัวของบ้านเมืองในสุวรรณภูมิขึ้นเป็นเป็นแว่นแคว้นใหญ่น้อยมากมาย
 ในระยะนี้มีจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงบรรดาแคว้นเหล่านี้ไว้ค่อนข้างชัดเจน แต่ส่วนใหญ่เป็นแคว้นและรัฐใกล้ทะเลที่สัมพันธ์กับเส้นทางการค้าทางทะเล ในการรับรู้ของจีนในขณะนั้น ระบุว่าแคว้นใหญ่ที่สำคัญที่มีการขยายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจไปครอบงำแคว้นอื่นๆ นั้นคือ แคว้น ฟูนัน เป็นแคว้นที่มีการนับถือทั้งพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู มีการส่งทูตไปเมืองจีน จากหลักฐานทางโบราณคดี ศูนย์กลางของฟูนันอยู่ใกล้ปากแม่น้ำโขง มีเมืองออกแอวเป็นเมืองท่าและเมืองอังกอร์เบอเรยเป็นเมืองศูนย์กลางของรัฐ จดหมายเหตุจีนกล่าวถึงการรุกรานของฟูนันมายังบ้านเมืองในอ่าวไทย แคว้นกิมหลินที่แปลว่า แผ่นดินทอง เมืองสำคัญของกิมหลินตามหลักฐานทางโบราณคดีน่าจะเป็น เมืองอู่ทอง
 พัฒนาการของรัฐฟูนันและรัฐร่วมสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ ตามที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุจีนยุคแรกๆ นั้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของบ้านเมืองใกล้ทะเล บนเส้นทางการค้าและการคมนาคมจากตะวันตก คือ จากอินเดียเข้าสู่แหลมทอง ข้ามคาบสมุทรโดยทางบกสู่เมืองท่าทางฝั่งตะวันออก แล้วผ่านอ่าวไทยไปปากแม่น้ำโขง ไปเวียดนาม และจีนตามลำดับ
 จนพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ความเป็นรัฐใหญ่และอำนาจทางทะเลของฟูนันก็เสื่อมไป เพราะการขยายตัวทางการค้าทั้งทางทะเลและเส้นทางการค้าภายในของภูมิภาค ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดแคว้นใหญ่ๆ ขึ้นมาอีกหลายแคว้น ดังในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ถัง ที่มีพระภิกษุจีนองค์สำคัญ ๒ องค์ คือ หลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนเหี้ยนจัง ที่รู้จักกันในนามพระถังสัมจั๋ง เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย องค์แรกเดินทางโดยทางทะเลที่ผ่านอ่าวไทย ส่วนองค์หลังเดินทางบกผ่านภูเขาและทะเลทรายไปทางเหนือ แต่ทั้งสององค์ได้บันทึกถึงแคว้นใหญ่แคว้นสำคัญในพื้นแผ่นดินใหญ่ของสุวรรณภูมิอย่างชัดเจนเหมือนกัน คือ แคว้นศรีเกษตร ในลุ่มน้ำอิรวดีในประเทศพม่า แคว้นนครชัยศรีในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน แคว้นทวารวดีในลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก แคว้นอีสานปุระในลุ่มแม่น้ำโขง และแคว้นมหาจัมปาที่อยู่ใกล้ทะเลในประเทศเวียดนาม
 จากหลักฐานทางโบราคดีซึ่งเป็นหลักฐานภายในนั้น แสดงให้เห็นว่า ศรีเกษตร นครชัยศรี ทวารวดี เป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาหลัก ส่วนอิสานปุระและมหาจัมปา ให้ความสำคัญกับศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน
• แสดงแผนที่ภูมิประเทศของอุษาคเนย์ลงตำแหน่งของเมืองสำคัญ คือ ศรีเกษตร นครชัยศรี ละโว้ (ทวารวดี) สมโบร์ไพรกุก และอมราวดี (จาเกี้ยงและมีเชิน)
• แสดงภาพของโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ให้เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธเถรวาท พุทธมหายาน และฮินดู
• พุทธเถรวาทแสดงด้วยรูปแบบพระสถูปเจดีย์ทรงกลม พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปนั่งเก้าอี้ พระนอน ธรรมจักร พระพุทธรูปปางพนัสบดี เสมาอีสานที่แสดงภาพชาดกและพุทธประวัติ
• พุทธมหายาน แสดงด้วยปราสาท รูปเคารพพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์ และรูปแบบของสัญลักษณ์
• ฮินดูแสดงด้วยรูปแบบของปราสาท รูปเคารพศิวลึงค์ เทวรูป พระวิษณุ นางทุรคา พระกฤษณะ ฯลฯ

 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา ทีการขยายตัวทางการค้าทางทะเล และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิม นั่นคือ ความก้าวหน้าทางพานิชย์นาวี ทำให้เกิดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่เดินทางไกลได้ดีกว่าเดิม ทำให้เส้นทางการค้าระหว่างตะวันตกและตะวันออกที่แต่เดิมใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งทะเลอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย มาเป็นการเดินเรือจากทางตะวันตกผ่านช่องแคบมะละกามายังอ่าวไทยและทะเลจีน
 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เกิดรัฐที่มีอำนาจทางทะเลขึ้นมา ที่มีนามว่า ศรีวิชัย รัฐนี้มีฐานอำนาจอยู่ในเกาะสุมาตราและเกาะชวา และมีพัฒนาการขึ้นจากการรวมตัวของรัฐต่างๆ ที่อยู่ทั้งในหมู่เกาะและคาบสมุทร
 ศรีวิชัยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการค้าขายกับทางตะวันตกคืออินเดีย และทางตะวันออกคือจีน จึงเกิดความมั่งคั่งและมีอำนาจ ได้ขยายเส้นทางการค้าไปยังที่ต่างๆ ทั้งใกล้และไกล และสิ่งที่ตามมากับการค้าขายก็คือ การแพร่พุทธศาสนามหายานในพื้นแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย ได้เกิดเมืองท่าและเมืองภายในขึ้นหลายแห่ง อย่าเช่น เมืองคูบัว ในเขตจังหวัดราชบุรี นับเป็นเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนเมืองภายในได้แก่ เมืองศรีเทพในลุ่มน้ำป่าสักในหุบเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญบนเส้นทางการค้าและการคมนาคมข้ามเทือกเขาดงพญาเย็นสู่ที่ราบสูงโคราช พุทธศาสนามหายานแพร่หลายตามเส้นทางนี้ไปจนบริเวณเมืองพิมาย และบริเวณใกล้เคียงในเขตอำเภอลำปลายมาศและนางรอง ก่อนที่จะผ่านไปยังที่ราบลุ่มเขมรต่ำในเขตทะเลสาบเขมรของกัมพูชา
 อิทธิพลของเส้นทางการค้าและการแพร่หลายของพุทธมหายานตามที่กล่าวนี้ยังส่งผลเข้าไปผสมผสานในเรื่องลัทธิความเชื่อของบรรดาบ้านเมืองที่เคยเป็นพุทธเถรวาทและฮินดูมากขึ้นด้วย
• แสดงแผนที่ภูมิประเทศในดินแดนประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงให้เห็นถึงเส้นทางการคมนาคมและการเกิดเมืองสำคัญรุ่นใหม่ขึ้น เช่น เมืองคูบัว เมืองศรีเทพ เมืองฝ้าย เมืองพิมาย และเมืองปัตตานี เป็นต้น
• แสดงภาพเขียนพาโนรามา หุ่นจำลองของเมืองศรีเทพ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นชุมชนที่นับถือศาสนาฮินดูมาก่อน ได้พัฒนาขึ้นใหญ่โตมีคูน้ำคันดินล้อมรอบขนาดใหญ่ มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ที่เป็นพุทธขึ้นกลางเมืองที่เรียกว่า คลังใหญ่ ทางด้านตะวันตกของเมืองศรีเทพมีเขาศักดิ์สิทธิ์ชื่อ เขาถมอรัตน์ มีถ้ำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเทวรูปพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน รวมทั้งแสดงให้เห็นเส้นทางคมนาคมจากเมืองโบราณในเขตจังหวัดชัยนาทมานครสวรรค์ ผ่านเขาถมอรัตน์มาแวะที่ศรีเทพ ก่อนเดินทางต่อไปยังบ้านเมืองในที่ราบสูงโคราช
• แสดงภาพโบราณวัตถุในคติมหายานที่พบในเขตพิมายและบุรีรัมย์ เช่น พระเศียร พระกร และพระชงค์ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่พบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง และเทวรูปพระโพธิสัตว์ที่พบในกรุเขาปลายบัต จังหวัดบุรีรัมย์
• แสดงบ้านเมืองสมัยศรีวิชัยในภาคใต้ อันได้แก่ ไชยาและปัตตานี โดยเฉพาะปัตตานีนั้น แสดงให้เห็นผังของเมืองและศาสนสถานในเขตอำเภอยะรัง อันเป็นบริเวณที่เคยเป็นเมืองสำคัญของรัฐลังกาสุกะ
• แสดงการแพร่หลายของพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในลัทธิศาสนามหายานที่พบตามท้องถิ่นต่างๆ ในภาคใต้

ถึงสยามประเทศ

 ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อำนาจทางทะเลของศรีวิชัยเสื่อม เพราะเกิดการรบพุ่งกับพวกโจฬะจากอินเดียใต้ ผู้เป็นคู่แข่งในการค้าทางทะเลเหมือนกัน ในขณะเดียวกันทางจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของศรีวิชัยก็หันไปค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองต่างๆ ที่เป็นแหล่งสินค้า โดยไม่ต้องให้ศรีวิชัยเป็นคนกลางที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผูกขาด โดยเฉพาะการค้าทางตรงของจีนนี้ ได้ทำให้เกิดการค้าขายของคนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เกิดบ้านเมืองใหม่ๆ ขึ้นมาก ทั้งมีการรวมตัวกันเป็นรัฐใหญ่ๆ ที่มีอำนาจในพื้นแผ่นดินใหญ่ขึ้นมาหลายแห่ง ที่สำคัญก็คือ กัมพูชาและพุกาม ต่างก็มีฐานะเป็นอาณาจักร
 กัมพูชาเกิดขึ้นแทนที่รัฐเจนละเดิมในลุ่มแม่น้ำโขง มีราชธานีสำคัญอยู่ที่เมืองพระนคร ในขณะที่พุกามอยู่ทางตะวันตก พัฒนาขึ้นแทนรัฐพยู่ ที่มีเมืองศรีเกษตรเป็นศูนย์กลาง อาณาจักรพุกามริมฝั่งแม่น้ำอิรวดีตอนบน
 ในดินแดนประเทศไทยซึ่งอยู่ขนาบด้วยกัมพูชาและพุกามนั้น รัฐเดิมที่เคยใหญ่โตมาก่อน คือ นครชัยศรีและทวารวดีลดความสำคัญลง อันเนื่องมาจากมีการเคลื่อนไหวของผู้คนจากภายนอกและภายในที่มีการขยายตัวทางการค้า ทำให้มีการสร้างบ้านแปลงเมืองกันขึ้นมากมายหลายแห่ง รวมทั้งมีการรวมตัวกันเป็นนครรัฐใหม่ๆ ที่มีความสำคัญอยู่ที่เมืองใหญ่ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ปัตตานี สุพรรณภูมิ ละโว้ สุโขทัย หริภุญไชย โยนก เวียงจันทน์ เป็นต้น หลักฐานจากศิลาจารึกสุโขทัยและจดหมายเหตุจีน ชี้ให้เห็นว่า นครรัฐเหล่านี้มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มสยามที่จีนเรียกว่า เสียมก๊ก และกลุ่มละโว้หรือ หลอฮกก๊ก
 ละโว้นับเนื่องเป็นปริมณฑลของอาณาจักรกัมพูชา แต่กลุ่มสยามเป็นอิสระและกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั้งเหนือใต้และตะวันตก ที่คนภายนอกมักเรียกพื้นที่นี้ว่า สยามเทศะ หรือ สยามประเทศ และผู้คนที่อยู่ต่างเมืองแต่อยู่ในดินแดนเดียวกันว่า ชาวสยามหรือเสียม
 แต่เหนืออื่นใด ความสำคัญของสยามนั้นหาใช่อยู่ที่พื้นที่หรือดินแดนแต่เพียงอย่างเดียว หากอยู่ที่มีผู้คนหลายชาติพันธุ์จากภายนอกได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ทำให้ดินแดนประเทศไทยที่มีมาแต่สมัยทวารวดี-ศรีวิชัย มีผู้คนเพิ่มขึ้น และมีเมืองใหญ่น้อยเกิดขึ้นมากมายนั่นเอง
 กลุ่มคนจากภายนอกที่เคลื่อนย้ายเข้ามานั้น ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนและเคลื่อนมาทั้งทางบกและทางทะเล การเข้ามามีทั้งตั้งหลักแหล่งเป็นบ้านเมืองใหม่และผสมผสานกับผู้คนตามบ้านเมืองเก่าที่มีอยู่แล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ช่วงเวลาด้วยกัน
 ช่วงแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นการเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจการเมืองของอาณาจักรเมืองพระนคร เมืองราชธานีกลายเป็นศูนย์กลางนานาชาติและมีปริมณฑลกว้างขวางอันเนื่องจากบรรดาบ้านเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายนอกสวามิภักดิ์ ทำให้ดีราชอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โต และมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกษัตริย์ผู้ครองราชอาณาจักรกับกษัตริย์เจ้านครรัฐใหญ่น้อยอย่างใกล้ชิด ดังเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์เมืองพระนครกับกษัตริย์เมืองละโว้ ในขณะที่บรรดากษัตริย์ผู้ครองนครรัฐในสยามประเทศมีลักษณะยืดหยุ่น บางเมืองเช่นหริภุญไชยใกล้ชิดกับพุกาม สุโขทัยแม้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเมืองพระนครแต่ก็มีความใกล้ชิดทางเศรษฐกิจกับพุกามมากว่านครรัฐอื่นๆ เช่น สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราช มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอิสระกว่า อันเนื่องมาจากมีการค้าขายทางทะเลโดยตรงกับจีน ความเป็นอิสระดังกล่าวนี้ได้ทำให้มีการเคลื่อนไหวของผู้คนจากภายนอก โดยเฉพาะจากตอนใต้ของประเทศจีนเคลื่อนย้ายลงมาตามเส้นทางการค้าเข้ามาทั้งค้าขายและตั้งถิ่นฐาน ทำให้เกิดบ้านเล็กเมืองน้อยเพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนย้ายของผู้คนในยุคนี้มีจำนวนมากและหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่ทำให้เกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นในสุวรรณภูมิทั้งหมดก็ได้
 โดยเฉพาะสยามประเทศนั้น เมืองใหม่และคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมายกว่าที่อื่น อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่มาทั้งทางบกและทางทะเล การปรากฏตัวของคนรุ่นใหม่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์นั้นแลเห็นได้ชัดเจนในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั่นคือ การเกิดกลุ่มอำนาจใหม่ขึ้นมาแทนที่กลุ่มเก่า ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนราชวงศ์ของกษัตริย์และการหมดความสำคัญของเมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรใหญ่ เช่น พุกามและเมืองพระนคร และเมืองที่เป็นนครรัฐ เช่น ละโว้ หริภุญชัย นครศรีธรรมราช เป็นต้น การแพร่หลายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ที่เห็นได้จากรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมของศาสนสถานตามเมืองสำคัญๆ ต่างๆ โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์และการเกิดตำนานพงศาวดารที่กล่าวถึงการสร้างพระบรมธาตุและเมืองโดยกษัตริย์ในตำนาน
 กษัตริย์ในตำนานดังกล่าวนี้อาจจะมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่ผู้คนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมาสร้างขึ้นให้เป็น ผู้นำทางวัฒนธรรม [culture hero] เพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาคที่เป็นบรรพบุรุษของพวกตน ซึ่งนับเนื่องเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีรากเหง้ามาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา อาจกล่าวได้ว่า หลักฐานจากภายในที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของผู้คนในพื้นที่สยามประเทศตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมานั้นไม่มีหลักฐานทางเอกสารรองรับ หากเป็นเรื่องของการจดจำแล้วเล่ากันลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จึงมีการรวมมาบันทึกเป็นตำนานพงศาวดารขึ้น และดูเหมือนสิ่งสำคัญที่น้ำหนักมากกว่าสิ่งอื่นก็คือ เรื่องของภาษาที่ใช้กันในบรรดาคนหมู่มากทั้งเก่าและใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากภาษาเดิมๆ ที่มักเป็นภาษาบาลีสันสกฤต มอญและเขมร มาเป็นภาษาไทย จนทำให้เกิดความเข้าใจกันอย่างผิดๆในปัจจุบันว่า ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติไทที่อพยพลงมาจากตอนใต้ของประเทศจีน แล้วเข้ามามีอำนาจแทนชนชาติเก่าที่เคยมีอำนาจในสุวรรณภูมิและสยามประเทศมาก่อน ดังนั้น การที่คนในดินแดนสยามหรือประเ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. กลุ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์

Results 1 to 20 of 67