Showing 1872 results

คำอธิบายจดหมายเหตุ
เรื่อง With digital objects
Print preview View:

เครื่องรางของขลัง : ตะกรุด

ตะกรุด

ตะกรุด คือการลงยันต์ในแผ่นโลหะที่แผ่ออก แล้วม้วนเป็นแท่งกลม บางครั้งมีการเรียกตะกรุดที่ต่อด้วยชื่อยันต์ เช่น ลงด้วยยันต์โสฬสมงคล จะเรียกว่า ตะกรุดโสฬสมงคล หรือ ลงด้วยยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่า ตะกรุดตรีนิสิงเห เป็นต้น

บางตำราเมื่อลงยันต์เสร็จแล้ว จะมีการพอกด้วยว่านยาต่างๆ ที่มีชื่อต่างกันออกไป เช่น ตำราที่ให้ถมด้วยพระไตรสรณาคมน์ คือการพอกด้วยเครื่องยามีดอกพุทธรักษาสีขาว ดอกพุทธรักษาสีแดง และดอกพุทธรักษาสีเหลือง ถมด้วยสัตตโพชฌงค์ ได้แก่ ใบไม้รู้นอน 7 อย่าง (ใบชุมแสง ใบสมี ใบระงับ ใบหิงหาย ใบผักกระเฉด ใบหญ้าใต้ใบ และใบกระถิน) ถมด้วยนวหรคุณ (เครื่องหอม 9 อย่าง) ได้แก่ จันทร์แดง จันทร์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะมด พิมเสน อำพันทอง และน้ำมันหอม เครื่องยาเหล่านี้ตากให้แห้งบดเป็นผงผสมรักพอกไว้ที่ด้านนอกของตะกรุดอีกที

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 1

หางเครื่อง 1

วงดนตรีลูกทุ่งในปัจจุบันถือว่าหางเครื่องมีความสำคัญที่จะขาดไม่ได้ และมีการแข่งขันสูงทางด้านความสวยงามวิจิตรตระการตา ในระยะแรกเพลงลูกทุ่งยังไม่มีหางเครื่องเหมือนดังเช่นปัจจุบัน หางเครื่องในอดีตหมายถึงเครื่องดนตรีพวกฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง ลูกแซ็ก ไม้แต๊ก แทมบูรีน ที่ใช้เคาะให้จังหวะอยู่ด้านหลังของวงดนตรี เนื่องจากการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรก ใช้เวลา 3 - 4 ชั่วโมง มีรีวิวประกอบเพลงไม่มากนัก จึงให้คนในวงที่ว่างงานอยู่ออกมาช่วยตีเครื่องเคาะให้จังหวะต่างๆ ประกอบการร้อง ของนักร้องหน้าเวที และช่วยให้จังหวะเพลงเด่นชัดขึ้น เรียกกันว่า "เขย่าเครื่องเสียง" หรือ "เขย่าหางเครื่อง"

จับไมค์ใส่ขนนก : หางเครื่อง 3

หางเครื่อง 3

เมื่อ พ.ศ. 2518 ศกุนตลา พรหมสว่าง คู่ชีวิตของ เพลิน พรหมแดน ติดตาติดใจเครื่องทรงของโฟลี แบร์แฌร์ (Folies Bergeres) และ มูแลงรูจ (Moulin Rouge) เมื่อคราวไป "ดูงาน" ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาดัดแปลงใช้กับชุดหางเครื่องเพลงลูกทุ่งเป็นครั้งแรก จนเกิดเป็น "เทรนด์" ที่ปลุกกระแสแฟชั่นไปทั่ววงการ จากเพลงลูกทุ่งปกติธรรมดาจึงกลายเป็น "ศิลปะการแสดงระดับโลก หางเครื่องนับร้อย นุ่งน้อย ห่มนิด ฟิตเปรี๊ยะ" โดยจัดแสดงครั้งแรกในช่วงท้ายคอนเสิร์ตของ เพลิน พรมแดน

ไทยทำ...ทำทำไม : ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีมือ

เครื่องสีมือ

เวลาสีข้าวเปลือกต้องเทข้าวลงในกระบุงด้านบน ก้นกระบุงโหว่เพื่อครอบแป้นหมุนไม้สองชิ้น เมื่อออกแรงผลักมือจับ คานจะหมุนแป้นหมุนให้เสียดสีกัน ช่วยขยี้ข้าวเปลือกให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องราง

เครื่องราง

ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องราง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง

ไทยทำ...ทำทำไม : คาเฟ่ไทยไทย

คาเฟ่ไทยไทย

ทำไมวัฒนธรรมการกินกาแฟแบบไทยไทย ถึงมักต่อท้ายด้วยคำว่าโบราณ ที่คาเฟ่ไทยไทยแห่งนี้ เราเปิดโอกาสให้คุณดื่มด่ำกาแฟไทยเคล้าขนมหวานท่ามกลางบรรยากาศไท้ย-ไทย หันไปมองโดยรอบจะเห็นรายละเอียดทั้งมวลในร้านอันประกอบสร้างขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “ไทยทำ” ทั้งที่คุณคุ้นเคยและไม่คุ้นตา ขอเชิญคุณสั่งเครื่องดื่ม แล้วนั่งละเลียดให้ความคิดแล่น พลางจิบขนมเพลินปาก แล้วฝากคำถามไปให้นึกกันเล่นๆ ว่ากาแฟ “ไทยไทย” คู่ควรกับคำว่า “โบราณ” จริงไหม?

แม้จะรู้กันดีว่าภูมิปัญญาของการขนมไทยนั้นได้มาจากประเทศโปรตุเกส นำเข้าโดยท้าวทองกีบม้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ขนมไทยแบบไทยแท้ดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ความประณีตละเอียดอ่อนที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยยังแสดงออกมาผ่านบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อขนมไทยที่หลากหลาย

นอกเหนือจากความหมายเชิงศิลปวัฒนธรรม ถ้าวิเคราะห์กันตามเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ วัสดุที่คนไทยใช้ห่อขนมหวานล้วนนำมาจากพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบตอง ใบเตย ใบลาน ใบจาก ใบกะพ้อ ต้นอ้อ กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือแม้กระทั่งกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งส่วนใหญ่ทนทานต่อทั้งความเย็นและความร้อน เมื่อนำมาห่อขนมหวานจะยังรักษาความชื้นไว้ได้ บางชนิดเมื่อนำไปนึ่ง ปิ้ง หรือต้ม ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้ขนมชนิดนั้นยิ่งหวานหอมอร่อย แถมวิธีการห่อที่หลากหลายช่วยสร้างเอกลักษณ์ของขนมชนิดนั้น ห่อหุ้มขนมให้มิดชิด สะอาด สวยงาม และหยิบสะดวกพอดีมือ พอดีคำ

ไทยทำ...ทำทำไม : นางกวัก

นางกวัก

วัตถุมงคลที่มีรูปร่างเหมือนผู้หญิง แต่งกายด้วยชุดไทยสีแดงพร้อมเครื่องประดับทอง นั่งในท่าคุกเข่าแบบเทพธิดา ส่วนมือทำท่ายกขึ้นกวักตามตำนานที่มีแค่ในไทยเท่านั้นเชื่อว่านางกวักเป็นเทพีที่กวักเรียกความเป็นมงคลและโชคลาภ เจ้าของธุรกิจร้านค้าไทยจึงนิยมบูชาไว้หน้าร้านมาแต่โบราณ แม้กระทั่งนักออกแบบรุ่นใหม่ยังออกแบบและลดทอนรูปลักษณ์ของวัตถุมงคลนี้ขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย

ไทยทำ...ทำทำไม : เปลญวนไม้ไผ่

เปลญวนไม้ไผ่

เปลสำหรับแขวนตามร่มไม้หรือใต้ถุนบ้าน พิเศษตรงที่ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่เพียงลำเดียวเท่านั้น คิดค้นขึ้นโดยชาวบ้านที่เห็นไผ่ขึ้นเองในท้องถิ่นและมักปลูกไผ่ไว้ใช้ประโยชน์ด้วยความผูกพันและเข้าใจศักยภาพของไม่ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงนำเอาไม้ไผ่มาผ่ากลาง ผ่าครึ่งหนึ่ง ให้เป็นซี่ยาวแล้วจักไม้ไผ่เป็นตอก สานขัดไปมาตามขวางของลำไม้ให้กลายเป็นเปลนอนได้อย่างฉลาดเหลือเชื่อ

ผลลัพธ์ 1801 to 1820 of 1872