Showing 67 results

Archival description
Series
Print preview View:

นิทรรศการ ชุด สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)

สูจิบัตร นิทรรศการ สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน (Tattoo COLOR, Tattoo HONOR : Traditional Tattoos in Taiwan and Thailand)
วันที่ 15 กรกฎาคม - 27 ตุลาคม 2562
เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการเสนอเรื่องราวของการสักและอุปกรณ์ งานศิลปะจากศิลปิน ชาติพันธุ์ ภาพถ่าย ตำนานและสารคดี

นิทรรศการ ชุด พระนคร

นิทรรศการหมุนเวียน ชุด พระนคร “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ก้าวย่างบนเส้นทางอย่างตะวันตก นิทรรศการหมุนเวียนชุดใหม่จาก มิวเซียมสยาม ที่พาทุกคนไปรู้จักกับย่าน “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด” ที่ในอดีต ที่เคยได้ชื่อว่าเป็น “ศูนย์กลาง” แห่งใหม่ของพระนคร ในช่วงที่อาณาจักรสยามต้องเผชิญหน้ากับการคุกคามจากโลกตะวันตก พื้นที่แห่งนี้จึงเปรียบเหมือนสถานบ่มเพาะการปรับตัวสู่โลกสมัยใหม่ ให้สยามอยู่รอดและผสานรอยต่อ พร้อมเข้าสู่สังคมตะวันตกอย่างเต็มตัวเช่นในปัจจุบัน

นิทรรศการแบ่งออกเป็น 7 โซน ประกอบด้วย

โซนที่ 1 : มีอะไรในแผนที่
บอกเล่าเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของย่านการค้าแห่งนี้ นับตั้งแต่ถนนเจริญกรุงตัดขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงของเมืองบางกอกที่เชื่อมโยงถนนสายต่าง ๆ เชื่อมผู้คนจากต่างถิ่นให้เข้ามาหากัน ผ่านเทคนิคการ Mapping

โซนที่ 2 : ช่างฝรั่ง กับวังสยาม
โซนที่จะพาผู้ชมไปรู้จักกับ “ช่างฝรั่ง” นายโจอาคิม แกรซี เบื้องหลังงานออกแบบของสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างในย่านนี้ ที่พลิกพระนครให้เป็นฝรั่งได้ด้วยสายตา

โซนที่ 3 : ช่างฝรั่ง โรงชักรูป
การเข้ามาของช่างชักรูปชาวต่างชาติ ที่หมุนเวียนกันเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ก่อให้เกิดกระแสของการบันทึกภาพของชนชั้นนำชาวสยามและการถือกำเนิดขึ้นของสตูดิโอชักภาพในตำนานห้างโรเบิร์ต เลนซ์

โซนที่ 4 : หมอยาฝรั่ง ห้างบีกริม
บอกเล่าเรื่องราวของห้างสุดโอ่อ่า ที่ตั้งอยู่ตรงหัวมุมย่านประตูสามยอด ภายใต้การดูแลหมอยาฝรั่ง นายอดอล์ฟ ลิงค์ ได้นำพาสินค้านานาชนิดมาสู่พระนคร พร้อมการเกิดขึ้นของ “ร้านขายยาสยาม” และต้นกำเนิดของย่านขายเครื่องจักร, กล้อง และปืน

โซนที่ 5 : ห้างสรรพสินค้า พ่อค้านานาชาติ
จุดเริ่มต้นของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น ราวปลายรัชกาลที่ 6 คือ ช่วงเวลาเดียวกันของกระแส “เห่อของนอก” จากการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้านานาชาติทั้งจีน, ฝรั่ง, แขกมุสลิมดาวูดี โบห์รา และแขกสิกข์ขายผ้า เข้ามาขายในพระนครจนติดอกติดใจชาวสยาม

โซนที่ 6 : มหรสพฝรั่ง โรงหนังนำสมัย
เรื่องราวของรูปแบบความบันเทิงจากตะวันตก ที่เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของชาวพระนคร ให้เรียนรู้เรื่องฝรั่ง และความเป็นไปของโลกผ่านภาพยนตร์

โซนที่ 7 : ก้าวย่างอย่าง “สามยอด”
การมาถึงของรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) กับเรื่องราวบทต่อไปของย่านนี้ กับความเปลี่ยนแปลงใหญ่อีกครั้ง “สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด”

นิทรรศการ ชุด พระนคร "สามยอด-วังบูรพา-พาหุรัด" ประกอบด้วย 1. พระนคร ON POSTCARD 2. พระนคร ON FOOT 3. พระนคร ON THE MOVE เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ถึง 1 มีนาคม 2563 เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย

ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย เป็นนิทรรศการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดในการเสนอประเด็นประวัติศาสตร์ผ่านการมีส่วนร่วมของสังคมด้วยกระบวนการพิพิธภัณฑ์

แนวคิดสำคัญ ประการแรก คือ การระลึกถึงถนนสายที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทย ๑๒๑ ปีของถนนสายนี้เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมอันพึงจารึกจดจำ และแนวคิดที่สอง คือ ปรากฏการณ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรไทย

มิวเซียมสยามได้ตอบสนองปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยการจัดอบรมปฏิบัติการให้กลุ่มผู้สูงวัย ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ภัณฑารักษ์วัยเก๋า” ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และได้ทำงานร่วมกับคนวัยเก๋าทั้ง ๑๖ ท่านในงานนิทรรศการนี้ ล่องรอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย จึงเป็นการปะทะประสานมุมมองของคนต่างวัย ต่างประสบการณ์ที่ล้วนล่องอยู่ในรอยแห่งราชดำเนิน

นิทรรศการจัดแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 : การแนะนำนิทรรศการและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของถนนราชดำเนินผ่านการเล่าเรื่องแบบเส้นเวเลา (Timeline) และใช้สื่อวิดิทัศน์ในการนำเสนอ

ส่วนที่ 2 : “ล่อง รอย” ที่นำเสนอประวัติศาสตร์การประชันทางความคิดของคนหลายยุคหลายสมัยบนถนนราชดำเนินที่สามารถเดินชมไปพร้อมกับการใช้สื่อดิจิตัล ได้แก่ สมาร์ทโฟน และหูฟังเป็นเครื่องมือในการชมเส้นสายแห่งประสบการณ์เรื่องเล่าใน 8 เส้นทาง โดยผู้เข้าชมจะรู้สึกสนุกไปกับเสียงบรรยายประกอบจากคณะเกศทิพย์ นักพากย์นิยายวิทยุที่โด่งดังอยู่ช่วงหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าถึงเหตุการณ์ในยุคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ 3 : แสดงถึงสถานที่สำคัญบนถนนราชดำเนิน โดยจำลองแลนด์มาร์คสำคัญบนถนนราชดำเนินพร้อมเล่าเรื่องราวไปกับวัตถุจัดแสดงที่ได้รับมาจากผู้ที่สนใจร่วมแบ่งปันประสบการณ์ก่อนหน้านี้

ส่วนที่ 4 : นิทรรศการของภัณฑารักษ์วัยเก๋า เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของนิทรรศการที่ได้คัดคนหนุ่มสาวยุคเบบี้บูมเมอร์เข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์ โดยได้รับการฝึกอบรม ปฏิบัติการเรียนรู้จากมิวเซียมสยาม เรื่องเทคนิคการเล่าเรื่อง การถ่ายภาพ และตัดต่อวิดีทัศน์ด้วยมือถือ และนำผลงานเหล่านี้มาจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกัน

ระยะเวลาจัดแสดง

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์) ณ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1 ไม่เสียค่าเข้าชม
  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00-18.00 น. ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณสี่แยกคอกวัว

นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

นิทรรศการจะบอกเล่ากำเนิดความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง บอกเล่ากลไกขององค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบ ตั้งแต่ ด้านพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีต ที่เป็นผู้กำหนดตลาดของสลากกินแบ่ง รวมไปถึงมีส่วนสำคัญมากในการจำหน่ายสลากด้านกลุ่มผู้ค้าเร่

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย

นิทรรศการหมุนเวียน ชุด "หวยแหลก! แตกประเด็น คนเล่นหวย" บอกเล่ากำเนิดความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง บอกเล่ากลไกขององค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบ ตั้งแต่ด้านพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีตที่เป็นผู้กำหนดตลาดของสลากกินแบ่ง รวมไปถึงการจำหน่ายสลากกินแบ่ง

ประเด็นที่หนึ่ง : เริ่มจากการเรียนรู้กำเนิดความเป็นมาของหวย ก ข ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ในยุคที่เกิดข้าวยากหมากแพง เงินจากหวย ก ข จำนวนมากส่งเข้าหลวงสามารถช่วยให้เศรษฐกิจของสยามดีขึ้นและเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของสยามต่อเนื่องมาจนกระทั่งถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนลอตเตอรี่ เป็นการเสี่ยงโชคใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ออกรางวัลเพื่อระดมเงินทุนให้กับบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้ามาจัดแสดงในการจัดพิพิธภัณฑ์ที่ตึกคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง การระดมทุนโดยออกลอตเตอรี่ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบมาเรื่อย จนกลายเป็นสลากกินแบ่งรัฐบาลที่สร้างรายได้ให้กับรัฐจำนวนมหาศาล

ประเด็นที่สอง : แสดงให้เห็นโครงสร้างของการกระจายสลาก กลไกการสร้างมูลค่าของสลาก สลากจำนวน 2 ใน 3 กระจายสู่ผู้ค้ารายย่อยที่ได้ลงทะเบียนและได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นผู้ค้ารายย่อยจริง มีแผงค้าเป็นของตนเอง ผู้ค้าเหล่านี้จะแจ้งความจำนงล่วงหน้าว่าในงวดถัด ๆ ไป จะมารับซื้อไปขายกี่ฉบับ ช่วยให้สำนักงานสลากคำนวณได้ว่า ในแต่ละงวดต้องพิมพ์สลากกี่ใบ โดยที่ไม่เหลือมากจนขาดทุน จากโครงสร้างตลาดที่ไม่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ค้าเร่บางส่วน สบช่องให้เกิด ยี่ปั๊ว หรือผู้รวบรวมสลากเพื่อนำมาจัดชุด โดยแต่ละชุดจะมีเลขสลากเหมือนกัน ทำให้เมื่อถูกรางวัล ชุดนั้นก็จะได้รับเงินเป็นทวีคูณ

ประเด็นที่สาม : คนขายหวย นำเสนอวิถีชีวิตและเทคนิคในการขายหวยของผู้ค่าเร่ อาชีพเร่ขายหวยหรือลอตเตอรี่นี้เพิ่งเริ่มมีมาเมื่อ 30 ปีก่อน ชาวบ้านโพนงาม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มาเดินขายลอตเตอรี่ที่กรุงเทพ ฯ ถือเป็นจุดกำเนิดของ "หวยเดินไปหาคนซื้อ" คนเร่ขายลอตเตอรี่จะปรากฏตัว ณ จุดที่ผู้คนรวมตัวกัน ไม่ว่าจะ BTS MRT ห้างสรรพสินค้า หรือ แม้แต่ในหมู่บ้าน ไม่ซ้ำรายกันเลยทีเดียว วิถีชีวิตของผู้ค้าเร่ขายลอตเตอรี่ ขึ้นอยู่กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และ โครงสร้างการตลาดของลอตเตอรี่ในแต่ละงวด พวกเขาเป็นไม้สุดท้ายที่นำส่งลอตเตอรี่มายังมือของนักเสี่ยงโชค

ประเด็นที่สี่ : คน เล่น หวย +ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำเสนอความเชื่อ ความหวังของคนเล่นหวย เหตุใด เราถึงผูกโยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับหวย ซึ่งเป็นเรื่องสถิติ การคำนวณ เช่น หวยย่านาค หวยไอ้ไข่ หวยคำชะโนด ฯลฯ หรือเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ เป็นแหล่งเพิ่มความหวังและกำลังใจที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน ในทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องส่วนตัว ไปจนถึงการชะตากรรมของบ้านเมือง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

Results 61 to 67 of 67