Showing 1521 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ
Print preview View:

1166 results with digital objects Show results with digital objects

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตคาบสมุทรมลายูปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ภูเขาทอง จังหวัดระนอง ท่าชนะ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา คลองท่อม จังหวัดกระบี่ รวมทั้งกัวลาเซลินซิง ประเทศมาเลเซีย

เมืองท่าสองฝั่งคาบสมุทรนี้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลซึ่งมีที่กำบังลมมรสุมเพื่อจอดพักเรือ และอยู่บริเวณปากแม่น้ำทำให้สามารถขนถ่ายสินค้าถึงกันได้โดยใช้เส้นทางน้ำ เช่น แม่น้ำตะกั่วป่า และลำน้ำสาขา

ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ในเมืองท่าสุวรรณภูมิบริเวณคาบสมุทรมลายู ได้แก่ ลูกปัดคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดแก้วหลากหลายรูปทรงและสีสัน รวมทั้งพบหลักฐานการผลิตลูกปัดจำนวนมากในบริเวณนี้ด้วย

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัด : สุริยเทพที่คลองท่อม

ลูกปัดแบนกลมหน้าคนตาโตปากเม้มเป็นเส้นตรงในวงเส้นประสีดำพร้อมกับมีเส้นรัศมีรอบนี้ พบครั้งแรกที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เรียกชื่อตามลักษณะที่เห็น คือ “ลูกปัดหน้าคน” ต่อมา มีการค้นพบลูกปัดลักษณะนี้อีกนับสิบเม็ดพร้อมกับวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแปลกตาและยังไม่มีการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเชิงวิชาการ จึงมีคนเรียกชื่อลูกปัดชนิดนี้ไปตามจินตนาการว่า “หน้าอินเดียนแดง” เทียบเคียงว่า มีลักษณะคล้ายขนนกของชาวเผ่าอินเดียนแดงนิยมใส่ประดับศีรษะ จนกระทั่งต่อมา มีคนเรียกชื่อใหม่เป็น “สุริยเทพ” โดยมีคำอธิบายขยายความว่าเป็นหน้าคนในดวงอาทิตย์ที่กำลังสาดแสง พร้อมกับเท้าความยาวไปถึงดินแดนโบราณอย่างมายา และอินคาในทวีปอเมริกาที่นิยมมีเทพสุรยะหรือสุริยเทพเป็นเทพสำคัญ จนกระทั่งถึงอียิปต์โบราณที่นิยมบูชาเทพอาเท็น หรือพระอาทิตย์เช่นกัน ผู้นำลักษณะใบหน้า จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปของลูกปัดชนิดนี้ไปโดยปริยาย

ลูกปัดสุริยเทพที่ค้นพบที่อำเภอคลองท่อม ทำจากแก้วด้วยวิธีโมเสก คือ เอาแก้วสีขาวและสีดำมาเรียงเป็นรูปใบหน้า ตา ปาก จุดและเส้นรัศมี แล้วหลอมด้วยความร้อนจนอ่อนจึงดึงยืดเป็นท่อนยาวที่มีรูปหน้าตัดเป็นใบหน้าคนยาวตลอดความยาวของท่อนก่อนตัดเป็นแว่นๆ แล้วเจาะรูสำหรับร้อย แต่ละเม็ดจึงมีรูปหน้าคล้ายกัน หากตัดจากท่อนแก้วเดียวกัน ส่วนสีแดงและเขียวที่เหมือนเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่งนั้นยังไม่มีการศึกษารายงานว่าทำด้วยวิธีใด

ในการผลิตลูกปัดแก้วสุริยเทพนี้ถือเป็นผลผลิตจากเทคนิคชั้นสูง คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณช่วงต้นพุทธศตวรรษ สันนิษฐานกันทั่วไปว่าน่าจะผลิตในเมืองอเล็กซานเดรียในประเทศอียิปต์ เนื่องจากมีชื่อเสียงในการทำแก้วโมเสก

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดเดินทาง

เมื่อราว 2,500-1,000 กว่าปีมาแล้ว โลกแห่งการค้าทางทะเลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ลมสินค้าจากยุโรปได้พัดพาลูกปัดข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน ลูกปัดหินสีคุณภาพดีผลิตในอินเดียทางหนึ่งมุ่งสู่ตะวันตกไปยังเปอร์เซีย และยุโรปอีกทางหนึ่งมายังตะวันออก โดยมีจุดหมายที่สุวรรณภูมิ

ต่อมาเมื่อความต้องการลูกปัดมีมากขึ้นได้มีการกระจายแหล่งผลิตไปตามเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ บนเส้นทางการค้าทางทะเล เมืองท่าสุวรรณภูมิซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจึงได้พัฒนาเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญ เพื่อส่งออกและขายในภูมิภาค

ลูกปัดเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิด้วยเหตุผลสำคัญ คือ เป็นสินค้าขากต่างแดนที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจากท้องถิ่น เป็นเครื่องรางนำโชคของนักเดินเรือ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบวช

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิสำคัญในเขตประเทศเมียนมาร์ปัจจุบัน เช่น ที่เมืองไบก์ถโน และเมืองศรีเกษตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 4-10 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี เมืองโบราณทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี บริเวณภาคกลางของประเทศลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต และลูกปัดทองคำ

ปริศนาแห่งลูกปัด : ลูกปัดภาคใต้

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรภาคใต้ที่แบ่งทะเลออกเป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นสองฝั่ง ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกสองฝั่งคาบสมุทรตั้งแต่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และกระบี่ กลายเป็นบริเวณที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญของสุวรรณภูมิเมื่อราว 2,500-1,000 ปีมาแล้ว

บริเวณนี้ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับลูกปัดชนิดต่าง ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า กลุ่มชนในดินแดนสุวรรณภูมิและบริเวณใกล้เคียงมีความนิยมลูกปัดกันมาก นอกจากนั้น การพบหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปัด แสดงว่าสุวรรณภูมิได้กลายเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

ชุมชนลูกปัดในแถบคาบสมุทรภาคใต้ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้า ยังเป็นแหล่งชุมนุมของนานาลัทธิความเชื่อที่มาพร้อมกับพ่อค้าจากทั่วโลกอีกด้วย บางลัทธิได้สร้างสัญลักษณ์พิเศษไว้เพื่อสื่อถึงหลักคิดของตน แล้วเผยแผ่ไปทั่ว รวมถึงบันทึกไว้ในลูกปัดกลายเป็นเครื่องรางของขลังแบบพกติดตัว หรือกลายเป็นวัตถุธรรมให้ผู้ศรัทธาได้เสาะหาเก็บรวบรวมไว้

ลูกปัดที่จดจารสัญลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกให้คนรุ่นปัจจุบันสืบรู้ได้ว่า คนโบราณคิดอะไร เชื่ออย่างไร และเชื่อมานานเท่าไร

ปริศนาแห่งลูกปัด : ร่องรอยลูกปัดในเมืองท่าสุวรรณภูมิ เขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบัน

เมืองท่าสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมอินโดจีน ได้แก่ เมืองออกแก้ว อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เมืองนครบุรี อยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชา เมืองท่าทั้งสองแห่งนี้เป็นประตูการค้าสำคัญระหว่างจีนและสุวรรณภูมิ ลูกปัดที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ

นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ (พ.ศ. 2552)

บริษัท การบินไทย ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม สร้างสรรค์นิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ ที่จะช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้ พากันค้นหาและค้นพบนอร์เวย์ผ่านเรื่องราวทั้งด้านประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในความเหมือนและความต่างจนสร้างความฉงนของทั้งสองมุมโลก และที่สำคัญตอบคำถามที่ว่า “มีดีอะไรที่นอร์เวย์” ภายใต้นิทรรศการในรูปแบบของมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)

กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้

นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

ภาพถ่ายนิทรรศการ

นิทรรศการ กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า บอกเล่าความเป็นมาของผ้า 1 ผืน ที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ระหว่างทางการสร้างผ้า ได้เกิดความรู้ สร้างความเข้าใจในการผลิตผ้าหนึ่งผืน ความรู้เรื่องผ้าจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะช่วยขับเคลื่อนความคิด ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญว่าการศึกษาเรื่องราวของผ้า เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาของไทย และเป็นพื้นฐานการนำความรู้ในไปต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์งานผ้าต่อไปในอนาคต

นิทรรศการชั่วคราว “กวัก ด้าย กี่ เรื่องราว ไน ผืนผ้า” มีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

เอกสารโครงการ โครงการสร้างสรรค์นิทรรศการชั่วคราว เรื่อง ลูกทุ่ง

เอกสารโครงการ เรื่อง หนักหัว แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งนิทรรศการชั่วคราวที่ต้องการนำเสนอแง่มุมอันหลากหลายของเพลงลูกทุ่งไทย แสดงให้เห็นการคลี่คลายจากเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้าน ผสมผสานเข้ากับรูปแบบของดนตรีตะวันตก เกิดเป็นการแสดงที่มีรูปแบบเฉพาะ ถูกใจประชาชนไทย รวมทั้งมีการพัฒนาควบคู่ไปกับสังคมไทยนับตั้งแต่ศิลปะการแสดงประเภทนี้ถือกำเนิดมา

หัวข้อของเอกสาร ประกอบด้วย

  1. หลักการและเหตุผล
  2. วัตถุประสงค์
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. สถานที่จัดนิทรรศการ
  5. ระยะเวลาจัดแสดง
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2507 - 2513)

สืบเนื่องจากการที่มีคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคหางเครื่องและคอนเสิร์ต (พ.ศ. 2519 - 2528)

ยุคหางเครื่องและคอนเสิร์ต (พ.ศ. 2519 - 2528)

หลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งที่เกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวนา กรรมกร และแนวเพื่อชีวิตมีน้อยลง เนื่องจากการปิดกั้นของภาครัฐ ส่งผลให้กลับมานิยมเนื้อหาด้านการเกี้ยวพาราสีและความรักของหนุ่มสาว ยุคนี้มีนักร้องใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ผลงานหลากหลาย วงดนตรีลูกทุ่งมีการแข่งขันมากขึ้น ใช้เงินลงทุนมากขึ้น ใช้เทคนิคแสง สี เสียงที่ทันสมัย การเต้นประกอบเพลงของหางเครื่องมีความอลังการมากขึ้น เนื้อหาของเพลงในช่วงนี้สะท้อนปัญหาใหม่ๆ ของสังคมเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การขายแรงงานในต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐานในการประกอบอาชีพของชาวชนบท เข้าสู่เมืองหลวง อาทิ เพลงน้ำตาเมียซาอุ ร้องโดย พิมพา พรศิริ เพลงฉันทนาที่รัก ร้องโดย รักชาติ ศิริชัย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มเขียนจดหมายถึงสาวคนรักชื่อฉันทนา ที่ทำงานอยู่โรงงานทอผ้า ซึ่งเพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จนกระทั่งสื่อมวลชนใช้คำว่า "ฉันทนา" แทนผู้หญิงที่ทำงานในโรงงาน

จับไมค์ใส่ขนนก : ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)

ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)

ความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบเพลงแนวสตริง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ฟังกลุ่มผู้ใหญ่ บรรดาค่ายเทปเพลงต่างเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้จากผู้ฟังกลุ่มผู้ใหญ่ จึงได้นำเอาเพลงเก่าที่มีคุณค่าและเป็นที่รู้จัก คือ เพลงของวงสุนทราภรณ์มาเรียบเรียงเสียงประสานขับร้องใหม่ เช่น ชุด เยื่อไม้ เพลงหวานเมื่อวานนี้ ตราบนิรันดร์ มหาอมตะนิรันดร์กาล จึงเป็นกระแสของการอนุรักษ์เพลงเก่าซึ่งแพร่เข้ามาสู่วงการเพลงลูกทุ่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย" ขึ้น เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 โดยเชิญนักร้องเพลงลูกทุ่งยอดนิยมรุ่นเก่า มาแสดง และมีการอภิปรายของผู้ประพันธ์เพลง และนักวิชาการ ต่อมา มีการจัดงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2" เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 เป็นการปลุกกระแสความนิยมเพลงลูกทุ่งกลับมาอีกครั้ง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2535 ราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิตอย่างกะทันหัน

ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา เพลงลูกทุ่งยังคงได้รับความนิยมจากผู้ฟังอย่างต่อเนื่อง หลายเพลงเป็นเพลงยอดนิยมที่มีเนื้อหา ที่ประทับใจผู้ฟัง เช่น เพลง กระทงหลงทาง ของ ไชยา มิตรชัย เพลง จดหมายผิดซอง ของ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย เพลง ยาใจคนจน และเพลง รองเท้าหน้าห้อง ของ ไมค์ ภิรมย์พร เพลง ปริญญาใจ ของ ศิริพร อำไพพงษ์ เพลง ขอใจกันหนาว ของ ต่าย อรทัย เพลงลูกทุ่งเหล่านี้ล้วนได้รับความนิยมทั่วประเทศ

จับไมค์ใส่ขนนก : นักร้อง

นักร้อง

การเป็นนักร้องอาชีพต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ และต้องใช้ความพยายามอย่างมาก โดยเริ่มจากเป็นนักร้องสมัครเล่น ที่มีใจรักการร้องเพลง ส่วนใหญ่อาจผ่านเวทีการประกวดร้องเพลงที่จัดขึ้นตามงานต่างๆ ในสมัยก่อนเวทีประกวดที่สำคัญ คือ เวทีประกวดในงานวัด เมื่อใดที่วัดมีงานประจำปี มักจัดประกวดร้องเพลงเพื่อดึงดูดผู้ชมมาชมการประกวด เวทีงานวัดจึงเป็นหนทาง สำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความสามารถด้านการร้องเพลง มาแสดงอย่างเต็มที่ เพลงที่ใช้ในการประกวด อาจเป็นเพลงที่กำลังได้รับความนิยม หรือเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาเอง เวทีงานวัดที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เช่น วัดหัวลำโพง วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ ซึ่งวัยรุ่นที่มีใจรักการร้องเพลงจะใช้โอกาสนี้ขึ้นไปแสดงความสามารถบนเวที เพื่อเปิดตัวต่อสาธารณชน ต่อมาก็มีเวทีประกวดตามรายการวิทยุ โทรทัศน์ และการประกวดระดับชาติ หรือบางคนอาจสมัครอยู่ในวงดนตรี และเริ่มจากงานรับใช้ต่างๆ ภายในวงดนตรี และฝึกฝนการร้องเพลง เพื่อหาโอกาสร้องเพลงหน้าเวทีและบันทึกเสียง

จับไมค์ใส่ขนนก : เวที

เวที

วงดนตรีลูกทุ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ มีทั้งนักดนตรี เครื่องดนตรี เครื่องเสียง และหางเครื่อง จึงต้องใช้พื้นที่บนเวทีมากพอสมควร แต่เดิมเวทีกลางแจ้งอาจประกอบอย่างง่าย ๆ โดยเป็นเวทีทำด้วยไม้กระดานปูบนถังน้ำมันขนาดใหญ่ เวทีสูงจากพื้นประมาณ 2 - 2.5 เมตร ทั้งนี้ต้องไม่สูงเกินไปนัก เพื่อให้แฟนเพลงได้คล้องพวงมาลัยนักร้อง ด้านหน้าเวทีติดตั้งหลอดไฟหลากสี ฉากหลังมีชื่อวงดนตรี หรือชื่อนักร้องขนาดใหญ่พร้อมประดับไฟให้ดูเด่น ด้านหลังเวทีใช้เป็นที่แต่งตัวของหางเครื่องและเป็นที่เตรียมตัวของนักร้อง แต่ในปัจจุบันได้มีการประกอบเวทีชั่วคราวกลางแจ้งอย่างแข็งแรงมั่นคง มีอุปกรณ์เฉพาะที่ติดตั้งสะดวก ถอดประกอบง่าย โดยวงดนตรีที่ใหญ่ๆ อาจมีทีมงานเฉพาะสำหรับติดตั้งเวทีล่วงหน้า หรือจ้างจากบริษัทที่รับจัดงานโดยตรง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และป้องกันอุบัติเหตุ

Results 21 to 40 of 1521