Showing 2730 results

Archival description
English
Print preview View:

2179 results with digital objects Show results with digital objects

ไทยทำ...ทำทำไม : กะลากันมด

กะลากันมด

ทำจากกะลามะพร้าว เจาะรู ใช้ไม้เหลาสอดเข้าไปพอดีกับรูที่เจาะไว้ ถ้าไม่ถนัดดีชาวบ้านมักใช้ขี้ขะย้า (ยางไม้) อุดรู ปลายไม้ทั้งสองด้าน ใส่เหล็กเส้นยาวพอที่จะแขวนไว้ โดยด้านบนใช้แขวนกับเพดานหรือตะปู ด้านล่างใช้แขวนอาหาร เหล็กขอด้านล่าง จะสั้นกว่าด้านบน เวลานำอาหารมาแขวนถ้าต้องการใช้เก็บอาหารได้มากก็ใช้ตะกร้า หรือตะแกรงใส่อาหารแล้วนำไปแขวน การป้องกันมดจะทำได้โดยเติมน้ำลงในกะลา มดก็จะเข้าไปตอมหรือไปกัดกินอาหารไม่ได้ เพราะมีน้ำกั้นอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : ขันโตก

ขันโตก

สมัยก่อนคนไทยชอบนั่งกินข้าวบนพื้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ชาวล้านนาหรือคนไทยทางภาคเหนือเห็นว่าการนั่งพื้นอาจไม่เหมาะหรือสะดวกนักจึงคิดค้นโตกขึ้น

ในภาษาล้านนา แปลว่า ภาชนะใส่อาหารทำด้วยไม้มามัดและสานต่อกันให้มีลักษณะกลมเหมือนถาด มีขาสูงขึ้นมาจากพื้นเล็กน้อยใช้จัดวางอาหารลงไปเป็นสำรับให้ดูน่ากิน

นอกจากโตกจะมีความหมายเชิงวัฒนธรรมเพราะใช้บ่งบอกฐานะของชาวล้านนาได้ วิธีใช้โตกต้องยกออกมาเสิร์ฟทีเดียวทั้งโตกและเมื่อทานเสร็จก็ยกไปเก็บล้างได้ทั้งโตก ถือเป็นนวัตกรรมที่ทั้งสะดวกและประหยัดเวลาด้วย

ไทยทำ...ทำทำไม : ครกกระเดื่อง

ครกกระเดื่อง

ใช้ตำข้าวให้เปลือกหลุดออกเป็นข้าวสาร ครกกระเดื่องเป็นการนำหลักการทำงานของคานมาช่วยทุ่นแรงในการตำข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร การใช้หลัก “คานยก” ช่วยให้เราออกแรงน้อยลง และแทนที่จะใช้มือยกสากตำก็ใช้เท้าเหยียบที่ปลายด้านหนึ่งของคาน จุดหมุนจะช่วยยกปลายอีกข้างที่มีสากติดอยู่ เมื่อยกเท้าออกสากจะถูกปล่อยลงมาตำข้าวในครก

ไทยทำ...ทำทำไม : คาเฟ่ไทยไทย

คาเฟ่ไทยไทย

ทำไมวัฒนธรรมการกินกาแฟแบบไทยไทย ถึงมักต่อท้ายด้วยคำว่าโบราณ ที่คาเฟ่ไทยไทยแห่งนี้ เราเปิดโอกาสให้คุณดื่มด่ำกาแฟไทยเคล้าขนมหวานท่ามกลางบรรยากาศไท้ย-ไทย หันไปมองโดยรอบจะเห็นรายละเอียดทั้งมวลในร้านอันประกอบสร้างขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “ไทยทำ” ทั้งที่คุณคุ้นเคยและไม่คุ้นตา ขอเชิญคุณสั่งเครื่องดื่ม แล้วนั่งละเลียดให้ความคิดแล่น พลางจิบขนมเพลินปาก แล้วฝากคำถามไปให้นึกกันเล่นๆ ว่ากาแฟ “ไทยไทย” คู่ควรกับคำว่า “โบราณ” จริงไหม?

แม้จะรู้กันดีว่าภูมิปัญญาของการขนมไทยนั้นได้มาจากประเทศโปรตุเกส นำเข้าโดยท้าวทองกีบม้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ขนมไทยแบบไทยแท้ดั้งเดิมก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ความประณีตละเอียดอ่อนที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ประจำชาติและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยยังแสดงออกมาผ่านบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อขนมไทยที่หลากหลาย

นอกเหนือจากความหมายเชิงศิลปวัฒนธรรม ถ้าวิเคราะห์กันตามเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ วัสดุที่คนไทยใช้ห่อขนมหวานล้วนนำมาจากพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นใบตอง ใบเตย ใบลาน ใบจาก ใบกะพ้อ ต้นอ้อ กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือแม้กระทั่งกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งส่วนใหญ่ทนทานต่อทั้งความเย็นและความร้อน เมื่อนำมาห่อขนมหวานจะยังรักษาความชื้นไว้ได้ บางชนิดเมื่อนำไปนึ่ง ปิ้ง หรือต้ม ยังทำให้เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้ขนมชนิดนั้นยิ่งหวานหอมอร่อย แถมวิธีการห่อที่หลากหลายช่วยสร้างเอกลักษณ์ของขนมชนิดนั้น ห่อหุ้มขนมให้มิดชิด สะอาด สวยงาม และหยิบสะดวกพอดีมือ พอดีคำ

ไทยทำ...ทำทำไม : ตำราพรหมชาติ

ตำราพรหมชาติ

“การดูพรหมชาติ” เป็นวิธีการทำนายดวงชะตาราศีของบุคคลบนพื้นฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นการพยากรณ์แบบหนึ่งในโหราศาสตร์ไทย ซึ่งมาจากความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ที่ได้รับจากอินเดียและจีน

ตำราพรหมชาติ ของภาคกลางและภาคใต้ เป็นตำราที่สืบทอดกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยดำเขียนด้วยตัวอักษรไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วยลายเส้นสีขาว เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆเข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วใช่ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”

ฉบับพิมพ์เก่าสุดเป็นฉบับพิมพ์ของโรงพิมพ์พานิชศุภผล พิมพ์ก่อนปี พ.ศ.2455 ไม่ปรากฏชื่อผู้รวบรวม ต่อมาได้มีการพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้งจากหลายโรงพิมพ์ และแพร่หลายไปทุกภูมิภาค มีทั้งตำราหมอดูชาวบ้านและตำราโหราศาสตร์ราชสำนักรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน สังเกตได้ว่าฉบับพิมพ์แต่ละครั้งจะเพิ่มเติมเนื้อหาอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราหมอดูไทยแทนที่จะเป็นการทำนายวิธีการหนึ่งตามชื่อของตน

ทำไม ไออินสไปร์

ปัญญาโบราณ นำพาเส้นทางชีวิต ผ่านหลักสถิติเปรียบเทียบดวงดาว เป็นเข็มทิศในวันที่สับสน และเป็นที่พักความคิดในยามที่ชีวิตต้องมรสุม

ไทยทำ...ทำทำไม : ตุ๊กตาเสีย กบาล

ตุ๊กตาเสีย กบาล

คนโบราณใช้ ตุ๊กตาเสีย กบาล เป็นตัวแทนของบาปเคราะห์ที่ถูกถ่ายทอดไปไว้ที่ตุ๊กตาเสีย กบาล นั้น รับเคราะห์แทนผู้นั้น ๆ โดยปั้นตุ๊กตาดินให้เป็นเพศเดียวกับคนที่ใกล้ตายแล้วจึงทำพิธีเสีย กบาล โดยหักคอตุ๊กตาตัวนั้น ไปวางไว้ตรงทางสามแพร่งหรือลอยน้ำไป

ทำไม ไออินสไปร์

โอนถ่ายความโชคร้ายไปไว้ที่ตุ๊กตา นำความเศร้า ความกลัว ความกังวล ออกไปจากใจ ฝังมันไว้กับตุ๊กตา

ไทยทำ...ทำทำไม : นางกวัก

นางกวัก

วัตถุมงคลที่มีรูปร่างเหมือนผู้หญิง แต่งกายด้วยชุดไทยสีแดงพร้อมเครื่องประดับทอง นั่งในท่าคุกเข่าแบบเทพธิดา ส่วนมือทำท่ายกขึ้นกวักตามตำนานที่มีแค่ในไทยเท่านั้นเชื่อว่านางกวักเป็นเทพีที่กวักเรียกความเป็นมงคลและโชคลาภ เจ้าของธุรกิจร้านค้าไทยจึงนิยมบูชาไว้หน้าร้านมาแต่โบราณ แม้กระทั่งนักออกแบบรุ่นใหม่ยังออกแบบและลดทอนรูปลักษณ์ของวัตถุมงคลนี้ขึ้นใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย

ไทยทำ...ทำทำไม : ปลัดขิก

ปลัดขิก

ขุนเพชร หรือ ปลัดขิก แต่เดิมนิยมให้เด็กผู้ชายอายุตั้งแต่ 3-4 ขวบขึ้นไป แขวนไว้ที่เอวโดยระยะนี้เด็กกำลังมีภูมิคุ้มกันตัวเองลดลง เพราะว่าหย่านมแล้ว เพื่อจะหลอกผีให้เข้าใจไปว่าเด็กชายนั้นไม่ใช่เด็ก หากแต่เป็นผู้ชายเต็มตัวแล้ว โดยมีองคชาติปลายเปิดอย่างผู้ใหญ่ไม่มีหนังหุ้ม ผีไม่สามารถนำเด็กคนนั้นไปยังโลกแห่งความตายได้ เพราะไม่ใช่เด็กอีกต่อไปแล้ว

ทำไม ไออินสไปร์

แล้ววันหนึ่ง เราจะโตเป็นผู้ใหญ่ สักวันหนึ่ง เราจะโตพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตนเอง วันนี้เรายังไม่โต แต่วันหนึ่ง เราจะโต และ เราจะปลอดภัย

ไทยทำ...ทำทำไม : ผ้าหมักโคลน

ผ้าหมักโคลน

ภูมิปัญญาที่มาจากความบังเอิญของชาวบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย เวลาออกไปทำนาแล้วสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้าส่วนล่างที่เปรอะเปื้อนโคลนเมื่อนำไปซักแล้วนิ่มกว่าผ้าส่วนบน บรรพบุรุษจึงคิดค้นกรรมวิธีการทำผ้าหมักโคลน เริ่มจากย้อมฝ้ายแล้วทอเป็นลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ แล้วนำมาหมักโคลนทิ้งไว้ 1 คืน ธาตุเหล็กในโคลนจะทำให้เส้นใยผ้าขยายตัว ได้ผ้าที่มีสีคุ่นลงแต่แลกมาด้วยความนุ่มเป็นพิเศษ แล้วค่อยนำไปย้อมสีทับ กลายเป็นนวัตกรรมสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อมา

ไทยทำ...ทำทำไม : มหัศจรรย์พันลึก

มหัศจรรย์พันลึก

มุมมองที่อัศจรรย์ และน่าสนใจของความคิดแบบไทยๆก่อเกิดสิ่งประดิษฐ์เรียบง่าย เพื่อแก้ปัญหาและแบ่งเบาความทุกข์ในชีวิตประจำวัน ผสานไว้ด้วย ศิลปะ คติ ศรัทธา และความเชื่อ ได้อย่าง “มหัศจรรย์ พันลึก” ทำให้ความง่าย อย่างไทยๆ กลายเป็นของพิเศษที่ ไม่ธรรมดา

ไทยทำ...ทำทำไม : รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ

ไทยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กยี่ห้อ Daihatsu รุ่น Midget ที่หน้าตาคล้ายกบนี้ มาใช้ที่จังหวัดตรังครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดิมเป็นรถบรรทุกของ แต่ช่างชาวตรังปรับแต่งเพิ่มหลังคารถป้องกันแดดและฝนแล้วนำมาใช้เป็นรถสาธารณะที่ขนได้ทั้งคนและสินค้า เพราะรถทุ่นแรงนี้เหมาะสมกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและลอนลูกฟูก แถมยังซอกแซกตามซอยคับแคบในเมืองได้สะดวก ปัจจุบันแม้รถหัวกบจะเลิกผลิตแล้วและมีอายุราวครึ่งศตวรรษแต่ก็ยังนิยมในจังหวัดตรัง เกิดชมรมอนุรักษ์ยังปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ยังใช้ได้ และกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรังไปแล้ว

ไทยทำ...ทำทำไม : ระหัดวิดน้ำ

ระหัดวิดน้ำ

การจะวิดน้ำเข้านาจะต้องใช้ระหัด ประกอบด้วยกงล้อและตัวราง รางระหัดมีความยาวพาดจากที่นาไปยังแหล่งน้ำที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เพื่อเพิ่มความเร็วของรอบเฟือง เมื่อกงล้อหมุน ก็จะหมุนเฟือง ซึ่งจะไปหมุนใบพัด ที่พาดผ่านเฟืองทั้งสองอีกที ใบพัดในรางระหัดนี้เองที่เป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการขนมไทย

รายการขนมไทย

  1. ห่อด้วยใบตอง

    • ขนมใส่ไส้
    • ตะโก้ (ขนมหางหนู)
    • ข้าวต้มมัด
    • ข้าวเหนียวสังขยา
  2. ห่อด้วยใบลาน

    • ขนมตาล
  3. ห่อด้วยใบเตย

    • ตะโก้
  4. ห่อด้วยใบจาก

    • ขนมจาก
    • ข้าวต้มมัดลูกโยน
  5. ห่อด้วยใบกะพ้อ

    • ข้าวเหนียวใบกะพ้อ
  6. ใส่ในต้นอ้อ

    • ข้าวหลามต้นอ้อ
  7. ใส่ในกระบอกไม้ไผ่

    • ข้าวหลาม
  8. ใส่ในกะลามะพร้าว

    • วุ้นในลูกมะพร้าว (วุ้นพรก)
  9. ใส่ในกรวยของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

    • ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ไทยทำ...ทำทำไม : รายการเครื่องดื่มไทยไทย

รายการเครื่องดื่มไทยไทย

  1. กาแฟดำ อาข่า อ่ามา
    กาแฟอาราบิก้าสัญชาติไทยปลูกแบบไทยๆ บนยอดดอนสูงในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ริเริ่มจากความตั้งใจของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี-อายุ จือปา ที่ยื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านชาวอาข่าที่ปลูกกาแฟดีแต่ถูกกดราคาอย่างไม่เป็นธรรม จึงเกิดแบรนด์กาแฟอาข่า อ่ามา ที่ทำเองทุกกระบวนการตั้งแต่ปลูก คั่ว บด โด่งดังไปทั่วประเทศและในระดับโลก

กาแฟดำในขวดแก้วนี้ผ่านกรรมวิธีการบดจนได้ที่แล้วนำมาหมักที่อุณหภูมิห้อง 9 ชั่วโมง จากนั้นจึงบรรจุใส่ขวดแช่เย็นให้ดื่มรสชาติเข้มแบไทยแท้แต่สดชื่น

  1. กาแฟถุงกระดาษ
    กาแฟเย็นใส่นมแบบไทยในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ บรรจุถุงกาแฟพลาสติกซ้อนลงในถุงกระดาษสีน้ำตาลขนาดประมาณ 5 x 7 x 3 นิ้ว อีกชั้นหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการละลายเร็วของกาแฟเย็นฉ่ำ โดยกระดาษที่มีความหน้า 125 และ 150 แกรม เก็บความเย็นได้ยาวนานถึง 5 และ 9 ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ภายนอกยังคงภาพลักษณ์ความโบราณอันเป็นจุดขายที่ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

  2. โคโค่-อีซี่
    มะพร้าวน้ำหอมเผาพร้อมฝาเปิดในตัว นวัตกรรมที่บรรพต เคลียพวงทิพย์ ใช้เวลานาน 5 ปีในการคิดค้นและทดลองเจาะฝาลูกมะพร้าวด้วยเครื่องเลเซอร์ให้ไม่ส่งผลต่อน้ำและเนื้อมะพร้าวที่อยู่ข้างใน ถือเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ความสวยงาม สะดวกสบาย และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์อะไรเลย ดื่มน้ำมะพร้าวเผาเย็นสดชื่นได้เลยทันทีโดยไม่ต้องง้อใครมาช่วยเฉาะ

  3. น้ำวุ้น
    ยืนยันอีกครั้งว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนแม้กระทั้งน้ำเปล่าในขวดธรรมดาเรายังหาวิธีการแช่และทำให้น้ำกลายเป็นวุ้นเย็นชื่นใจ

  4. ชาร้อนในถังน้ำชา
    เมืองไทยเป็นเมืองร้อน คนไทยจึงนิยมชงชาร้อนทิ้งไว้ในกาและวางไว้ให้รินดื่มได้ทั้งวัน แตกต่างจากชาวจีนและญี่ปุ่นที่มีพิธีการชงและใช้ความร้อนที่เหมาะสมคนไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการประดิษฐ์ถังใส่กาน้ำชาที่บุด้วยผ้าและทำฝาปิดไว้เพื่อรักษาความร้อนให้คงอยู่

ไทยทำ...ทำทำไม : ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่นิยมและเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นการเขียนลวดลายตกแต่งผิวไม้ที่ช่างหลวงนำไปใช้ในงานของราชสำนักและงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เช่น ลวดลายประดับผนัง เสา บานประตู หน้าต่าง ของตำหนัก และอุโบสถ ตลอดไป จนถึงเครื่องเรือนอย่าง ตู้พระธรรม

การทำ ลายรดน้ำ ของช่างไทยมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน หลายขั้นตอนโดยเฉพาะลายรดน้ำบนตู้พระธรรม ซึ่งเราถือว่าเป็นของสำคัญที่ใช้เก็บสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างพระไตรปิฎก กรรมวิธีการทำเริ่มจากการลงรักหลายชั้น แล้วจึงเขียนลาย ปิดทอง และรดน้ำ ถือเป็นเทคนิคขั้นสูง และใช้เวลายาวนานในการทำ นับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาตามแบบฉบับช่างไทยในราชสำนัก

ทำไม ไออินสไปร์

ความงดงามของลวดลายตามแบบไทย รังสรรค์ สร้างมิติ เพื่อบ่งบอกถึงความมีฝีมือทางศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ไทยทำ...ทำทำไม : สลากย้อม

สลากย้อม

สลากย้อมนี้จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด ลำต้นของสลากจะมีฟางมัดเป็นกำ ๆ สำหรับปักไม้ไผ่ที่ผูกแขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน

ไทยทำ...ทำทำไม : เกราะลอ

เกราะลอ

เมื่อก่อนเกราะลอใช้สำหรับไล่ฝูงนกกาที่มากินข้าวในไร่นา บางครั้งก็ใช้ตีเพื่อบอกเหตุ หรือให้สัญญาณเวลาพักผ่อน ชาวนาจะนำเกราะลอมาตีเล่นเพราะเสียงดังกังวาน โดยเพิ่มจังหวะเพิ่มลูกโปงลางเข้าไปจนกลายมาเป็นโปงลาง ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องราง

เครื่องราง

ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องราง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีฝัด

เครื่องสีฝัด

ถ้าจะแยกแกลบ เศษฟาง และข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกต้องใช้เครื่องสีฝัด โดยหมุนเฟืองวงใหญ่ที่จะไปช่วยเพิ่มความเร็วรอบเฟืองตัวเล็ก ทำให้ใบพัดหมุน เกิดลมพัดเอาวัตถุที่ติดอยู่กับข้าวออกไป ช่วยทุ่นแรงการฝัดข้าวครั้งละมากๆ

ไทยทำ...ทำทำไม : เครื่องสีมือ

เครื่องสีมือ

เวลาสีข้าวเปลือกต้องเทข้าวลงในกระบุงด้านบน ก้นกระบุงโหว่เพื่อครอบแป้นหมุนไม้สองชิ้น เมื่อออกแรงผลักมือจับ คานจะหมุนแป้นหมุนให้เสียดสีกัน ช่วยขยี้ข้าวเปลือกให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว

Results 2701 to 2720 of 2730