Showing 40 results

Archival description
แผนผังและภาพถ่ายนิทรรศการ Series
Print preview View:

นิทรรศการ ชุด 100 ปี ตึกเรา : ตึกเก่า เล่าใหม่

นิทรรศการ ชุด ตึกเก่า เล่าใหม่ (New Take on Old Building) : 100 ปีตึกเรา ร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก (A Century of Our Building) เป็นนิทรรรศการชั่วคราวที่จัดแสดง ณ มิวเซียมสยาม ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เนื่องในวาระที่อาคารมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเป็นสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2465 ออกแบบก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ นายมารีโอ ตามาญโญ หัวหน้ากองสถาปัตย์ และนายเอมีลีโอ โจวันนี กอลโล หัวหน้าวิศวกร

หนึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนผ่าน จากการออกแบบเมื่อ 100 ที่แล้ว สู่กระทรวงพาณิชย์ถึงมิวเซียมสยาม ตึกเก่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขานมากมาย

ปี ๒๕๖๕ นี้ "มิวเซียมสยาม" เชิญชวนทุกท่านมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงอาคารซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ "เรา" โบราณสถานอันสง่างามหลังนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเป็น "กระทรวงพาณิชย์" เมื่อปี ๒๔๖๕ และมิวเซียมสยามได้รับมอบดูแลต่อเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตึกมิวเซียมสยาม(กระทรวงพาณิชย์เดิม) มีอายุครบ ๑ ศตวรรษ หรือ ๑๐๐ ปีในปี 2565 จากการออกแบบของนายช่างชาวอิตาลี สู่กระทรวงพาณิชย์ และมิวเซียมสยาม เป็น ๑๐๐ ปี ของความทรงจำของผู้คนที่เคยทำงาน หรือมาใช้บริการที่นี่ เป็นตึกเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน

เราขอเชิญทุกท่านมาร่วมบันทึกความทรงจำกันในนิทรรศการ "ตึกเก่าเล่าใหม่"

"ตึกเรา" แห่งนี้ ไม่ได้หมายรวมถึง "เรา" ที่เป็นชาว "มิวเซียมสยาม" เท่านั้น แต่โอบรับเอา "สาวก" มิวเซียมสยามทุกท่าน รวมไปถึงเยาวชนและประชาชนไทยทั่วไป ได้มีส่วนมาเป็นเจ้าของ "ตึกเรา" ร่วมกัน

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นิทรรศการ ชุด River of Life

การบินไทยและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมจัดนิทรรศการ River of Life นิทรรศการนี้นำเสนอเรื่องราวความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความผูกพันธ์ใกล้ชิดกับคนไทยมาช้านาน และเป็นแม่น้ำสายน้ำสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย

นิทรรศการ ชุด กวัก ด้าย กี่ ถักทอเรื่องราว ไน ผืนผ้า (พ.ศ. 2552)

กวัก ด้าย กี่ ถัก ทอ เรื่องราว ไน ผืนผ้า นิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ โดยเห็นความสำคัญเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเฉพาะผ้าไทย ที่ยังคงดำรงรักษาเอกลักษณ์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งในสังคมไทยมีภูมิปัญญาเรื่องผ้ามาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่ถูกนำออกมาเผยแพร่อย่างมีกระบวนการหรือรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
ฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย จัดทำโครงการนิทรรศการหมุนเวียนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เรื่อง ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผ้า โดยการนำผลงานของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ มาหมุนเวียนจัดแสดง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/ผู้เข้าชม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปต่อยอดสินทรัพย์ท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าในทางธุรกิจได้

นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552)

นิทรรศการ ชุด กินของเน่า (พ.ศ. 2555) 10 กรกฎาคม - 4 พฤศจิกายน 2012 (ปิดวันจันทร์)

นิทรรศการชั่วคราวเรื่อง “กินของเน่า”
เพื่อนำเสนอเรื่องราวของการถนอมอาหารสำหรับการบริโภคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและยังสืบทอดถึงปัจจุบัน
วัฒนธรรมการกิน “ของเน่า” นั้น เป็นการใช้ความรู้และภูมิปัญญาในการถนอมอาหารผู้คนในสมัยก่อนค้นพบวิธีการนำวัตถุดิบรอบตัวจำพวก เกลือ ข้าว น้ำตาลบวกกับความช่างคิดช่างสังเกต และทดลอง จนเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม ทั้งกะปิ ปลาร้า น้ำปลา
ปลาส้ม ถั่วเน่า และผักดองนานาชนิด
การกิน “ของเน่า” มีอยู่ทั่วโลก แต่รูปร่างหน้าตา กลิ่น และรสชาติแตกต่างกันออกไป
ตามวัตถุดิบและภูมิศาสตร์ นอกจากนิยมบริโภคกันแล้ว ยังมีการใช้ของเน่าในพิธีกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสำคัญๆ
อีกด้วย

นิทรรศการ ชุด จับไมค์ใส่ขนนก ปรากฎการณ์ลูกทุ่งไทย (พ.ศ. 2553)

ปรากฏการณ์ความคิดสร้างสรรค์ของลูกทุ่งไทย พร้อมไขความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ผ่าน 5 ยุคแห่งเพลงลูกทุ่งไทย ที่ได้สร้างศิลปินในตำนานไว้หลายท่าน อาทิ สุรพล สมบัติเจริญ, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ รวมถึงการจัดแสดงของหายากในวงการลูกทุ่ง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ (พ.ศ. 2552)

บริษัท การบินไทย ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม สร้างสรรค์นิทรรศการ จากสยามสู่ยุโรป บนเส้นทางซ่อนวาระ ที่จะช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้ พากันค้นหาและค้นพบนอร์เวย์ผ่านเรื่องราวทั้งด้านประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในความเหมือนและความต่างจนสร้างความฉงนของทั้งสองมุมโลก และที่สำคัญตอบคำถามที่ว่า “มีดีอะไรที่นอร์เวย์” ภายใต้นิทรรศการในรูปแบบของมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

นิทรรศการ ชุด ชาย หญิง สิ่งสมมุติ (พ.ศ. 2561)

นิทรรศการ ชายหญิงสิ่งสมมุติ ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ (Gender Illumination)
วันที่ 2 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2561 เวลา 10.00 - 18.00 น.
เป็นนิทรรศการว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีการจัดแสดงเรื่องราวและข้าวของจากปัจเจกชน สร้างการรับรู้ สร้างความเท่าทันต่อความเป็นไปร่วมสมัย

นิทรรศการ ชุด ชาวนานักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง (พ.ศ. 2554)

การปลูกข้าวไม่ใช่อุตสาหกรรมและนาข้าวก็ไม่ใช่โรงงานในการผลิตข้าว แต่เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีชาวนาเป็นผู้สังเกต ค้นคว้า ลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนา "ศาสตร์" ในการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก นอกจากนี้ชาวนายังมีความคิดสร้างสรรค์ในงาน "ศิลป์" และเชิงช่าง เมื่อผนวกความสามารถอันหลากหลายเหล่านี้เข้าด้วยกันนวัตกรรมในการปลูกข้าวจึงถูกรังสรรค์ขึ้น

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด ปริศนาแห่งลูกปัด (พ.ศ. 2551)

เรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมผ่านลูกปัดเม็ดจิ๋ว ที่ไขความลับของมวลมนุษยชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายมิวเซียมสยาม. แผนกพัฒนาและบริหารงานนิทรรศการ

นิทรรศการ ชุด พม่าระยะประชิด (พ.ศ. 2559)

นิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชิด
ตั้งแต่ปี 2559 เมื่อประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ กฎระเบียบสังคม การกระจายความเจริญ และที่สำคัญคือ สังคมจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในภูมิภาคจะเพิ่มมากขึ้น มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เพื่อการทำความเข้าใจอาเซียนในมิติของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ควรจัดสร้างสรรค์นิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถนำเสนอมุมมองของการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง โดยพิจารณาว่า พม่า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ปรับด้วยมายาคติทางประวัติศาสตร์มาเป็นโมเดลการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับพม่า ประกอบกับปัจจุบันมีประชากรจากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว “พม่า” ที่หลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเด่นชัด ทำให้ชาวพม่ามีส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงานเหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงานขึ้นทะเบียนเหล่านี้แล้ว ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบซ่อนตัวทำงานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การทำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย ตลอดจนคุณูปการของชาวพม่าต่อสังคมไทยอย่างข้ามกรอบอคติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความเคารพซึ่งกัน นอกจากนี้การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ยังจะเป็นภาพสะท้อนช่วยให้เข้าใจ “คนไทย” มากยิ่งขึ้นด้วย
นิทรรศการ “พม่าระยะประชิด” นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ นำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จากการลงภาคสนาม พร้อมนำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ รวมถึงกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าชมมีความเข้าใจนิทรรศการมากขึ้น กิจกรรมเสวนาประวัติศาสตร์พม่าที่หายไป, กิจกรรมละครเวทีโดยนักแสดงที่เป็นเด็กชาวพม่า, การแสดงหุ่นกระบอกพม่า สถาบันฯ ในฐานะที่เป็นองค์การที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ขนาดใหญ่ มุ่งหวังว่านิทรรศการและกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพม่าซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนแล้ว นิทรรศการนี้ยังสามารถให้แนวความคิดเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนของสังคมและการเปิดใจกว้างในการทำความรู้จักผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการชั่วคราว พม่าระยะประชัด เพื่อให้ผู้ชมตระหนักและเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนในภูมิภาค ซึ่งกำลังจะเกิดปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในอนาคตอันใกล้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สถานที่จัดนิทรรศการ อาคารอเนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เนื้อที่โดยรวม 246 ตร.ม.
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาจัดแสดงนิทรรศการ มีนาคม – มิถุนายน 2559 (4 เดือน)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. ฝ่ายวิชาการ. แผนกวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

Results 1 to 20 of 40